วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกHighlight“ธปท.”หวังบริโภคเอกชน-ท่องเที่ยว หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ธปท.”หวังบริโภคเอกชน-ท่องเที่ยว หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้น

“สักกะภพ” มองการบริโภคเอกชน-ท่องเที่ยวหนุนเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่อยาวไปถึงปีหน้า แต่ต้องระวังเงินเฟ้อ-สงครามรัสเซีย-ยูเครน คาดกนง.จับจังหวะที่เหมาะสมขยับขึ้นดอกเบี้ย

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 และปี 2566 พระเอกในการช่วยขับเคลื่อนไปต่อคือ การบริโภคของภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว ส่วนภาคการส่งออกก็ยังสามารถขยายตัวได้ แต่อาจชะลอลงจากปัญหาเงินเฟ้อ และสงครามรัสเซียและยูเครน โดยธปท.ประเมินว่า ส่งออกปี 2565 จะขยายตัว 7.9% แต่ปี 2566 จะขยายตัวลดลงเหลือ 2.1% ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศ

สำหรับเศรษฐกิจโลกอาจได้เห็นการชะลอตัวอย่างชัดเจนในปี 2566 ทำให้มองว่าภาคการส่งออกจะชะลอตัวลงด้วย โดยในปี 2565 ไทยอยู่ระหว่างการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่เป็นไปค่อนข้างช้า รวมถึงได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาพลังงาน ส่งผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้น และจะสูงอยู่ทั้งปีโดยเฉพาะในไตรมาส 3/2565 ส่วนระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแม้จะมีจะความเปราะบ้างในบางจุด

สำหรับ รูปแบบการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อกระตุ้นแบบภาพรวมอาจไม่มีความจำเป็นมากนัก หลังจากเศรษฐกิจเริ่มอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ทำให้ลักษณะของนโยบายต่อจากนี้ จะเป็นนโยบายเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพ และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยต้องติดตามข้อมูลใหม่ที่เข้ามาแบบใกล้ชิด

ซึ่งนโยบายการเงินมีการส่งสัญญาณการปรับเปลี่ยนชัดเจนมากขึ้น แม้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในรอบที่ผ่านมา จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม แต่เสียงแตกที่ออกมา 4 ต่อ 3 ก็เริ่มมีการมองแล้วว่า ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว จึงให้สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม คาดว่า กนง.จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะติดตามแนวโน้มความเสี่ยงเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะต่อไป เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ค่าเงินบาทยังมีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกเป็นหลัก โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่เข้มงวดเป็นสำคัญ แต่หากเทียบกับคู่ค้าของไทย เงินบาทก็ไม่อ่อนค่าไปมากกว่าคู่ค้า ทำให้การป้องกันความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นมากสุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img