วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight“รมว.สธ.”ยังไม่รับลูกขยายเวลาเปิดผับ ต้องชั่งน้ำหนัก“มิติสุขภาพ-สังคม-ศก.”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“รมว.สธ.”ยังไม่รับลูกขยายเวลาเปิดผับ ต้องชั่งน้ำหนัก“มิติสุขภาพ-สังคม-ศก.”

“หมอชลน่าน” ลั่นยังไม่รับลูก นโยบายขยายเวลาเปิดผับ ต้องชั่งน้ำหนักมิติสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 6 ต.ค.66 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนโยบายขยายเวลาการเปิดผับ บาร์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวว่า เรื่องนี้ยังไม่มีมติออกมาชัดเจน อยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งแต่เท่าที่ฟังอยู่คือ กำหนดโซนนิ่งที่มีความเหมาะสม เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว ส่วนการขยายเวลาจากเดิมนั้นยังไม่มีข้อสรุปว่ากี่โมง บางคนเสนอให้เปิดตลอดคืน บางคนเสนอเปิดถึงตี 4 แต่เท่าที่ตนฟังก็ยังไม่มีข้อสรุป

อย่างไรก็ตาม ในมุมของกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้ดูแลในมิติสุขภาพ หากจะมีนโยบายอย่างนี้มาก็ต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสุขภาพ ถ้าสามารถออกมาตรการที่ไม่กระทบด้านสุขภาพ ก็จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งเสริมเศรษฐกิจได้ ดังนั้นต้องมาชั่งน้ำหนักให้เกิดความสมดุลซึ่งน่าจะทำได้ ส่วนกลุ่มที่จะเข้าไปใช้บริการ ต้องเน้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ต้องกำหนดเกณฑ์อายุที่ชัดเจน ว่าเท่าไหร่ถึงจะเข้าผับบาร์ได้ เพราะชัดเจนว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะด้านสุขภาพจิต สติปัญญา และส่งผลต่อสังคม

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ก็มีการเสนอแนวคิดเปิดผับถึงตี 4 แต่ถูกคัดค้าน เพราะจะมีผลต่ออุบัติเหตุทางถนน การทะเลาะวิวาท นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ในสิ่งที่จะเกิดผลกระทบด้านสุขภาพ อย่างอุบัติเหตุก็เป็นเรืองหนึ่ง จึงต้องมีมาตรการควบคุม ถ้าจะเปิดถึงตี 4 มาตรการคุมเข้มการตรวจวัดแอลกอฮอล์ การดื่มแล้วขับ ต้องมีมาตการที่ชัดเจน ส่วนการทะเลาะวิวาทเป็นมิติทางสังคม เมื่อเกิดเหตุย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นถ้าจะทำนโยบายนี้จริงต้องชั่งน้ำหนักมิติสุขภาพ มิติสังคม มิติเศรษฐกิจให้เกิดความสมดุล

เมื่อถามย้ำถึงจุดยืนของกระทรวงสาธารณสุขต่อนโยบายดังกล่าว นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เราไม่คัดค้าน เราส่งเสริมสนับสนุน แต่ต้องมีมาตรการที่จะปกป้องคุ้มครองเรื่องมิติสุขภาพให้ดี

เมื่อถามว่า นโยบายจะให้เปิดผับ บาร์ถึงตี 4 แต่กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีการกำหนดช่วงเวลาห้ามจำหน่าย จะต้องพิจารณาปรับแก้อย่างไรหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า แล้วแต่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปดูว่าจะกำหนดมาตรการอย่างไร ส่วนเรามีหน้าที่ควบคุม ก็ต้องมาดู หากสมมติว่า มีนโยบายอกมาแล้ว กฎหมาย ระเบียบที่เราถืออยู่จะมีการแก้อย่างไร

“ของเรายังไม่รับลูก หรือรับพ่อ อย่างไรในตอนนี้ ต้องดูว่า เขาชัดเจนกันแบบไหน แล้วสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมิติที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่เราดูแลอยู่มันมีอะไรบ้างก็ต้องมาดู” นพ.ชลน่าน กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img