วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกNEWSทั่วไป“หมอธีระวัฒน์”ชี้โควิดทำให้ตาสว่างขึ้น ทุกปท.นำสิ่งที่สุดที่สุดมาปรับใช้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“หมอธีระวัฒน์”ชี้โควิดทำให้ตาสว่างขึ้น ทุกปท.นำสิ่งที่สุดที่สุดมาปรับใช้

“นพ.ธีระวัฒน์” ชี้ โควิดทำให้ตาสว่างขึ้น  ทุกประเทศนำสิ่งที่ดีที่สุด ถูกที่สุด เร็วที่สุด มาปรับแต่งเข้ากับบริบทและสถานการณ์

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊ก เรื่องวิกฤติโควิด ทำให้ตาสว่าง ว่า วิกฤติโควิด ทำให้ตาสว่าง

พื้นฐานที่ดี การปรับตัวฉับไว การบริหาร…เราตาสว่างหรือยัง จากการดูรอบตัวทุกประเทศนำสิ่งที่ดีที่สุด ถูกที่สุด เร็วที่สุด มาปรับแต่งเข้ากับบริบทและสถานการณ์ของประเทศไทย และหลีกเลี่ยงไม่ทำตามสิ่งที่คนอื่นและเราเองผิดพลาดและทำซ้ำอีก

จีน

เช่นใช้คอมพิวเตอร์ซีทีตรวจปอดบวมและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์แยกโควิดจากเชื้ออื่น เนื่องจากโรงพยาบาลทุกแห่งตรวจพีซีอาร์ไม่ได้ในระยะแรก แต่มีเครื่องซีทีทุกโรงพยาบาล แต่แล้วในเวลาไม่นานตรวจพีซีอาร์ 100 ล้านคนในเวลาไม่ถึงเจ็ดวัน

หมอจีนชอบเก็บงำข้อมูลในการรักษาจะไปตีพิมพ์ในวารสารตะวันตก ทางการสั่งให้เปิดเผยและรวบรวมจนกระทั่งได้กระบวนการวิธีการรักษาเผยแพร่เป็นภาษาจีนก่อนทั่วประเทศ และปรับปรุงฉบับที่หนึ่งถึงเจ็ดภายในไม่กี่เดือนและควบรวมการใช้สมุนไพรที่มีการใช้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

รายงานกระบวนการใช้สมุนไพรขณะปรากฏอยู่ในวารสารตะวันตกแล้ว

การฉีดวัคซีนเชื้อตายจนขณะนี้มากกว่า 777 ล้านคน และยอมรับว่าครอบคลุมเชื้อวาเรียนท์ได้ไม่หมด พัฒนาเทคโนโลยีวัคซีนได้ทุกชนิดรวม mRNA และแบบแอสตราฯ และแบบโปรตีนย่อย และอื่นๆ ใช้ควบรวมกับเชื้อตายและใช้เชื้อตายที่มีความปลอดภัยกว่าในเด็กตั้งแต่สามขวบเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน จากนั้นตามด้วย

เทคโนโลยีอื่น และ 1,400 ล้านคน จะได้วัคซีนครบในสิ้นปี 2564 รวมกับยารักษานานาชนิด

จีนมีความเข้าใจในการระบาดของโรค ถ้าคุมไม่ได้ในฉับไวจะนำไปสู่ไวรัสที่ ร้ายกาจมากขึ้น และเป็นที่มาของการต้องคัดกรองแยกตัวรักษาทันที และวัคซีน ควบวินัย ซึ่งต้องทำทุกอย่างพร้อมกัน

และเป็นที่ยอมรับ ดังเช่นรายงานจากคณะผู้วิจัยตะวันตกเองในวารสารเนเจอร์ ปลายเดือนกรกฎาคม 2564 และ nature review genetics การที่มีไวรัสกลายพันธุ์ไม่ว่า

จะเป็นอัลฟา เบตา เดลตาในพื้นที่ จะเป็นเสมือนแหล่งโรงงานเพื่อให้มีการผ่าเหล่าต่อ แม้ว่าในพื้นที่นั้นจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ขึ้นแล้วก็ตาม ทั้งนี้ ไวรัสต้องการรักษาสถานะความฟิต (viral fitness) เพื่อจะได้แพร่กระจายต่อ และในการนี้ต้องมีการดื้อต่อภูมิคุ้มกันเดิมที่มนุษย์มีอยู่

อินเดีย

เช่นควบคุมการตายอย่างมโหฬารภายในสองเดือน ใช้ยาฆ่าพยาธิตั้งแต่นาทีแรกที่ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ประกาศใช้ทั่วประเทศ

มีการพัฒนาปรับปรุงยาที่มีอยู่แล้วและพบมีสรรพคุณต้านการอักเสบและต้านไวรัส เช่นการใช้ 2 deoxy glucose ที่ใช้ในโรคมะเร็ง มีความปลอดภัยและประกาศใช้ทั่วประเทศ

ประเทศที่มีรายได้ไม่มากอย่างกรีซ คิวบา และอื่นๆ ใช้กรอบกระบวนความคิดไม่รอทำตามตะวันตกทุก อย่างฝ่าฟันอุปสรรค ในทรัพยากรจำกัด

เรามีสมุนไพรที่ดี เราดึงการฉีดเข้าชั้นผิวหนังที่มีความปลอดภัยกว่ามาใช้ได้ ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยทำให้ 10 ล้านโดส จะกลายเป็น 50–100 ล้านโดสได้ทันทีแล้วแต่ชนิดของวัคซีน

ทำไม การฉีดชั้นผิวหนังใช้ปริมาณวัคซีน น้อยได้ผลเท่ากัน ปลอดภัยกว่า เนื่องจากการกระตุ้นจากชั้นผิวหนังใช้กลไกต่างจากชั้นกล้ามเนื้อ มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันหลากหลาย ทำให้ประหยัดกว่า ผลข้างเคียงน้อยกว่า

เด็กตั้งแต่ 3 ขวบ ใช้เชื้อตายปลอดภัยกว่า และต่อด้วยยี่ห้ออื่น เช่น ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ชั้นผิวหนัง เพื่อเลี่ยงหัวใจอักเสบ

การฉีดกระตุ้นมีความจำเป็น รายงานจากประเทศอิสราเอลที่มีการฉีดทั้งประเทศด้วยไฟเซอร์ พบว่า 1-เริ่มตั้งแต่สี่เดือนโดยเฉพาะตั้งแต่ห้าเดือนหลังฉีดเข็มที่สองมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

2- จึงได้เริ่มมีการฉีดเข็มสามในคนที่ได้วัคซีนครบแล้วอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินห้าเดือน และประเมินการติดเชื้อและเกิดอาการรุนแรงตั้งแต่ 12 วันหลังได้เข็มที่สาม

3- กลุ่มที่ไม่ได้เข็มสามมีการติดเชื้อ 4,439 ราย เทียบกับที่ได้รับเข็มสาม 932 ราย

4- กลุ่มที่ไม่ได้เข็มสามมีอาการป่วยรุนแรง 294 ราย เทียบกับที่ได้รับเข็มสาม 29 ราย

5– และประเทศอิสราเอลกำลังเริ่มเข็มสามใน ประชาชนอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปที่ได้รับวัคซีนเกินห้าเดือนแล้ว

และในเมื่อต้องมีการกระตุ้นแล้วกระตุ้นเล่า จนกว่าที่เราจะมีวัคซีนยอดขุนพลที่ครอบคลุมสายเพี้ยน โดยใช้โปรตีนย่อย protein subunit เช่น ใบยา เป็น trimeric multimeric และที่จีนและสหรัฐฯใช้เป็นทางออกด้วย โดยควรมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องฉีดบ่อย ใช้ตัวกระตุ้นภูมิที่ควบคู่กับวัคซีนที่เหมาะสม และใช้การฉีดชั้นผิวหนังด้วย

จากวิกฤติของโควิดน่าจะทำให้เราตาสว่างขึ้นในการดูรอบด้าน ใช้บทเรียนในทางดีและทางที่ไม่สำเร็จจากประเทศต่างๆทั่วโลกนำมาปรับปรุง ดัดแปลงเข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉินและบริบทของประเทศไทย ตามทรัพยากรและงบประมาณที่จำกัดมากกว่า จะดีหรือไม่?

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img