วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกHighlightหัวหน้าศูนย์จีโนมฯ หวั่นลูกผสม เตือนโอไมครอนทำโควิดเป็น''โรคประจำถิ่น''
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ หวั่นลูกผสม เตือนโอไมครอนทำโควิดเป็น”โรคประจำถิ่น”

กรมวิทย์ฯ ประสานโรงเรียนแพทย์สุ่มตรวจสายพันธุ์โควิดหวั่นลูกผสม จับตาอีก 2 เดือนแนวโน้มโอไมครอนทำโควิดเป็นโรคประจำถิ่น เปรียบแข่งฟุตบอลครึ่งหลัง  

 เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 64 ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ศูนย์จีโนมฯ มีการสุ่มตรวจสายพันธุ์โควิดจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศยังไม่พบสายพันธุ์โอไมครอน ในประเทศ ยกเว้นกรณีในรายที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ส่งมาตรวจ อย่างไรก็ตามขณะนี้กรมวิทย์ได้ประสานโรงเรียนแพทย์ร่วมกันสุ่มตรวจสายพันธุ์ให้ได้ประมาณ 1% จากผู้ติดเชื้อรายใหม่ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 3,000-4,000 รายต่อวัน เพื่อประโยชน์ในการประเมินการตรวจเชื้อด้วย PCR ,ยา, ชุดตรวจต่างๆ รวมถึงวัคซีนยังได้ผลดีหรือไม่ 

 

ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าวต่อว่า สิ่งที่กังวลตอนนี้เนื่องจากเชื้อเดลตาครองพื้นที่แล้วมีโอไมครอนเกิดขึ้นมา หากคนหนึ่งติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ โดยเฉพาะหากมีการแลกเปลี่ยนสายพันธุกรรมจนเกิดลูกผสมหรือไฮบริด อาจจะก่อให้เกิดลักษณะเด่นพิเศษที่ไม่เหมือนโอมิครอนขึ้นได้ ซึ่งยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าหากเกิดขึ้นจริงจะส่งผลต่อการแพร่กระจาย และทำให้อาการรุนแรงขึ้นหรือน้อยลง จึงต้องสุ่มตรวจเพื่อติดตามเฝ้าระวัง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเคยพบการติดเชื้อ 2 สายพันธุ์ทั้งเดลตาและอัลฟาในคนเดียวกันที่แคมป์คนงานตามที่กรมวิทย์เคยรายงาน แต่ยังไม่เคยเจอกรณีไฮบริด ส่วนข้อมูลในต่างประเทศเคยมีการผสมแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ในคนๆ เดียวระหว่างโควิด 19 กับไข้หวัดธรรมดา แต่ไม่พบอาการรุนแรง ดังนั้นการสุ่มตรวจสายพันธุ์จึงจำเป็น รวมถึงเฝ้าระวังเข็มตามแนวชายแดน เมื่อพบความผิดปกติจะได้ควบคุม ตัดตอนไม่ให้เกิดการแพร่กระจายออกไป

@DMScNews

 

หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้เห็นชัดกราฟผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิตลดลง แต่ในแอฟริกาใต้มีลักษณะตรงกันข้าม ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์โอมิครอน แต่อัตราการเสียชีวิตลดลง อาจจะเป็นไปได้ว่าโอมิครอนเข้ามาแล้วติดง่าย แต่ไม่ได้ก่อปัญหามาก เหมือนติดกันเองแล้วทำให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยไม่ต้องฉีดวัคซีน แต่มีบางคนอาจมีอาการมากหรือเสียชีวิต ดังนั้นวัคซีนจึงมีความจำเป็น ซึ่งเดิมวางกำหนดการฉีดเข็ม 3 หลังเข็ม 2 ประมาณ 6 เดือน เข็ม 4 ห่างจากเข็ม 3 ประมาณ 1 ปี แต่เมื่อมีโอมิครอนเข้ามา จึงอาจร่นระยะเวลาการฉีดเข็ม 3 ห่างจากเข็ม 2 ประมาณ 3 เดือน เข็ม 4 ห่างจากเข็ม 3 ประมาณ 6 เดือน รวมถึงอาจจะต้องเปลี่ยนหัวเชื้อใหม่ที่ทันต่อการระบาดในปัจจุบัน

“แนวโน้มว่าสายพันธุ์โอมิครอนจะทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ ตอนนี้เรากำลังติดตามการระบาดที่แอฟริกาใต้ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้น แต่ยังต้องรอดูอีก 1-2 เดือนนี้ แนวโน้มน่าจะดี เหมือนการเล่นฟุตบอล ตอนนี้เราแข่งขันจบไปแล้วครึ่งแรกซึ่งมองดูแล้วเรานำ ยิงเข้าประตูไปแล้ว 1 ลูก ความหมายคือระบาดแต่อาการไม่รุนแรง ทุกคนก็คาดหวังว่าครึ่งหลังน่าจะชนะ แต่ลูกบอลขลุกขลิกอยู่หน้าประตูยังไม่รู้ผลอะไรก็เกิดขึ้นได้” ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img