วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกHighlightอัยการชี้ช่องคดีน้องธนาธร ไม่โดนสินบนก็โดนสนับสนุน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อัยการชี้ช่องคดีน้องธนาธร ไม่โดนสินบนก็โดนสนับสนุน

งานเข้า “น้องธนาธร” ยิ่งแถลงชี้แจง ยิ่งมัดตัวเอง ปิดทางเลือกต่อสู้คดี “อัยการปรเมศวร์” ชี้ช่อง ถ้าไม่โดนให้สินบนตรงๆ ก็อาจโดนฐานสนับสนุน แต่ต้องรอ “กองปราบ” จะสอบสวนอย่างไร รวมถึงเรื่องการทำธุรกิจผิดหลักธรรมาภิบาลหรือไม่

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Paisal Puechmongkol ระบุว่า…การแถลงชี้แจงเรื่องสินบน 20 ล้านบาทของน้องคุณธนาธร!!! ผูกมัดตัวเองและปิดทางเลือกในการต่อสู้คดี!!!

1.ยอมรับว่ามีการจ่ายเงินจริง แต่เถียงว่า ไม่ใช่เงินสินบน แต่เป็นการจ่ายค่านายหน้า!!!

2.เมื่ออ้างว่าเป็นการจ่ายค่านายหน้า ก็มีปัญหาว่า ตกลงทำสัญญานายหน้ากันเป็นหนังสือหรือไม่ เพราะค่านายหน้าจำนวนมากจะไม่มีหนังสือได้หรือ?

3.เมื่อเป็นค่านายหน้า ก็มีประเด็นอัตราค่านายหน้าว่าเป็นตามปกติของค่านายหน้าหรือไม่ เช่น 3% 5% 10% ของมูลค่าทรัพย์สิน ที่ตกลงซื้อขายหรือจัดหา ถ้าไม่เป็นไปตามอัตราปกติก็จะยุ่ง

4.ธรรมเนียมการจ่ายค่านายหน้านั้น เขาจะจ่ายเมื่องานสำเร็จแล้วไม่ใช่หรือ?

ในที่สุดก็จะพันแข้งพันขาตัวเองสักเพียงไหน??? แต่ทว่า สำหรับคนมีเงินในบ้านเมืองของเรานี้ ย่อมมีผู้ยินดีเชื่อตามข้ออ้างนี้เสมอ!!!! มิฉะนั้นเรื่องย่อมไม่เงียบหายไปจนถึงวันนี้หรอกครับ****

cr : FB Real Asset Development

อีกด้านหนึ่ง นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ผู้ตรวจการอัยการ ให้สัมภาษณ์ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.144 คนที่จะติดสินบนเพื่อจูงใจ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกา เรื่องไปหลอกเขา เจ้าหน้าที่รัฐไปหลอกชาวบ้านว่าจะเข้ารับราชการได้ ศาลฎีกาปี 62 และ 63 เคยตัดสินกรณีนี้เมื่อไปหลอกเขา มีความผิดฐานฉ้อโกง คนจ่ายเงินเป็นเหยื่อ คำถามคือจะเป็นการให้สินบนหรือไม่ โทษการติดสินบน…คนให้ต้องเริ่มก่อน แต่เวลาฟ้องคดี ถ้าเค้าให้ข้าราชการ ถ้าฟ้องเขาก็ยังผิดอยู่ แต่ถ้าเขาเริ่มจะให้ ก็เข้า ม.144 เต็มๆ

“จะนับเป็นการติดสินบน ต้องเริ่มจากผู้ให้ก่อน ถ้าของ ป.ป.ช.จะพูดถึงตัวเจ้าหน้าที่เป็นหลัก เค้า (หมายถึงนายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ) แถลงข่าวเป็นค่านายหน้า ค่าโบรกเกอร์ ซึ่งธุรกิจของบ้านเรา มีค่านายหน้าตลอด ก็จะรอดูกองปราบฯจะทำอย่างไร นี่เป็นจุดที่น่าสนใจ จะผิดกฎหมายหรือไม่ อีกคำถามคือ ธรรมาภิบาลของการทำธุรกิจครบถ้วนหรือไม่”นายปรเมศวร์กล่าว

เมื่อถามว่า ระหว่างค่านายหน้ากับเงินสินบน แยกแยะอย่างไร ผู้ตรวจการอัยการรายนี้ ตอบว่า “นายหน้า” คือค่าใช้จ่ายในการติดต่อ คนที่ถูกดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ค่าใช้จ่ายจำนวนสักเท่าไหร่ ค่าล็อบบี้ไม่ได้จ่ายให้คนมีอำนาจ แต่เป็นการดูแล เทคแคร์ ไม่ได้จ่ายให้ไปทวงเงิน แต่การติดสินบนคือเอาตังค์ไปให้เจ้าหน้าที่เพื่อให้มีคำสั่ง ก็มีคำถามว่า จำนวน 20 ล้าน มันสมเหตุสมผลหรือไม่ ค่าล็อบบี้ถ้าถามตน ค่าใช้จ่ายในการดูแล เพื่อให้เกิดความสะดวกความคล่องตัว เลี้ยงอาหารกัน ไม่น่าจะถึง

ถามอีกว่า คำพิพากษาปรากฏความว่า จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพว่า เงิน 20 ล้านบาท แตกยอดไปให้กับรองผอ.คนหนึ่ง เพื่อเป็นการจูงใจ ทางกฎหมายคิดต่ออย่างไร นายปรเมศวร์ กล่าวว่า ฟันเลยครับ ม.144 ศาลบอกเพื่อจูงใจก็คือติดสินบน แต่ถ้าไม่โดนให้สินบนตรงๆ ก็ต้องโดนสนับสนุน โทษคือ 2 ใน 3 เพราะคนสนับสนุนไม่ใช่ข้าราชการ กรณีนายสกุลธร ก็ต้องดูกันต่อไป อย่าให้ฟันธงเลย ต้องดูที่ตำรวจจะสอบอย่างไร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img