วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSเอลนีโญปะทะนวัตกรรม“ฝายแกนดินซีเมนต์”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เอลนีโญปะทะนวัตกรรม“ฝายแกนดินซีเมนต์”

เอลนีโญ เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ของยุคโลกเดือด ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินไทย และภูมิภาคอาเซียน นับเป็นนโยบายหลักสำคัญของ รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เร่งคลอดยุทธศาสตร์รับมือ  

โดยขึงขังกำชับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่มีกลไกในมือพร้อมปฏิบัติภารกิจตามเป้าหมาย ให้เร่งสรุปปั้นผลงานแก้ภัยแล้ง 

และยังมีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มี สมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กนช. 

จับตาดูบทบาท กนช. จัดทำยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ เพื่อจัดสรรทรัพยากรน้ำให้ทั่วถึงพื้นที่นอกเขตชลประทาน 117 ล้านไร่ ราว 78% ของพื้นที่เกษตร 149.2 ล้านไร่ ที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และต้องทำให้เกษตรกรทำการเกษตรได้มากกว่า 2 ครั้ง หากให้ดีก็ทำตลอดทั้งปี 

โดยมี โมเดลฝายแกนดินซีเมนต์ เทศบาลตำบลหนองแวง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ สร้างฝายแกนดินซีเมนต์ถึง 103 ตัว กระจายน้ำได้เต็มพื้นที่ 63,000 ไร่ เกษตรกรยิ้มแก้มปริ ทำนา ทำไร่ ปลูกพืชได้ตลอดปี พ้นพื้นที่แล้งซ้ำซาก

โมเดลแก้แล้ง ป้องกันน้ำท่วม ช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดิน ช่วยแก้ไข และบรรเทาปัญหาหมอกควันไฟป่า นับเป็นเครื่องมือสุดวิเศษตั้งรับเอลนีโญ มีหน่วยงานรัฐค้นพบ แต่ถูกสั่งเก็บเข้าลิ้นซัก เพราะใช้งบก่อสร้างราคาย่อมเยา มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิพล เป็นมิตรต่อคนในพื้นที่ และสิ่งแวดล้อม 

ดีกว่าโครงการที่มีมูลค่าเป็นพันเป็นหมื่นล้านบาท มักถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ ซึ่งมีความห่วงกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมักมีคอร์รัปชันตามมา 

ของดีจริงค่อยกระจายไปยังพื้นที่เทศบาล ต.เชียงม่วน อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งในจ.ขอนแก่น  

จ.แพร่ก็สร้างฝายแกนดินซีเมนต์ประเดิมกั้นแม่น้ำยม 3 ตัว ลำน้ำมาหลาย 3 ตัว

หยั่งเชิงแค่นี้ยังแก้ปัญหาน้ำอุปโภค บริโภค ทำการเกษตรอย่างเพียงพอ ไม่ย้อนกลับไปเกิดปัญหาเกษตรกรแย่งชิงน้ำกันอีก ปัจจุบันฝายแกนดินซีเมนต์ทั่วประเทศผุดขึ้น 600 ตัวแล้ว 

ต้องยอมรับว่าโมเดลนี้กว่าจะสำเร็จได้ทำเอา อาจารย์สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจน และลดความเหลื่อมล้ำ (กมธ.) วุฒิสภา ต้องใช้แรงขับพอสมควร 

เทอมที่เหลือของวุฒิสภาชุดนี้ อาจารย์สังศิตจึงเดินหน้าขายไอเดียให้กับรัฐบาล ประเดิมบุกกระทรวงมหาดไทย นำเสนอแนวทางแก้ภัยแล้ง การบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กด้วยนวัตกรรมฝายแกนดินซีเมนต์ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย รับลูกทันที

ด่านถัดไปตั้งคณะกรรมการร่วม เพื่อเขี่ยลูกบอลวิเศษให้องค์กรปกครองท้องถิ่นกระจายอยู่ทั่วประเทศ 7,850 แห่ง ซึ่งรู้ข้อมูลความทุกข์ยากของเกษตรกรไปจัดการต่อ 

ส่วนระดับชาติได้ขายไอเดีย ให้ สมศักดิ์ เทพสุทิน ประธาน กนช. ในวันที่พูดคุย มีสส.เพื่อไทย กว่า 30 คนเข้า แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วย แน่นอนตัวแทนกรมชลประทาน ตัวแทน สทนช.มาร่วมแจม 

แจ่มชัดขึ้นในวงเสนอให้ปลดล็อกกฎ ระเบียบที่เป็นอุปสรรคก่อสร้างนวัตกรรมรับมือเอลนีโญ อย่าง สทนช. ดูสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับพันถึงหมื่นล้านบาท และฝ่ายขนาดเล็กระดับหมื่นถึงแสนบาทในแหล่งน้ำขนาดเล็กให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการ ทั้งหมดต้องให้ กนช.เปิดไฟเขียว 

แต่ที่ขาดไม่ได้ คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรมป่าไม้, กรมเจ้าท่า อยู่ในคณะอนุกรรมการที่กนช.ตั้งขึ้น โดยเฉพาะ 2 กรมแรกรับผิดชอบพื้นที่ต้นน้ำทางภาคเหนือส่วนใหญ่ คอยเป็นกำลังหลักปรับแก้กฎระเบียบผ่าทางตันให้สะดวกโยธินได้รวดเร็วมากขึ้น 

ว่ากันว่างานนี้ สส.เพื่อไทยที่อยู่ในวงถึงกับพยักหน้าเห็นด้วย ประธาน สกช.สั่งขยับเดินหน้า และในเฟซบุ๊กของอาจารย์สังสิต ระบุว่า “นายกฯเศรษฐาเร่งผวจ.ขอนแก่นใช้ฝายแกนดินซีเมนต์” เพื่อรับมือภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง 

“เอลนิโญ” เริ่มโจมตีประเทศไทยตั้งแต่เดือนตุลาคม ฝายแกนดินซีเมนต์ต้องเริ่มสร้างทันที

…………………………….

คอลัมน์ : ไขกุญแจ-ไขแหลก

โดย “ราษฎรเต็มขั้น”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img