วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน” ต้องล้มประมูลใหม่ ???
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน” ต้องล้มประมูลใหม่ ???

“เมกะโปรเจ็คต์ทางน้ำ-ราง-ถนน-อากาศ” ของกระทรวงคมนาคม นับเป็นฟันเฟืองอีกตัวปลุก
เศรษฐกิจของประเทศไทยให้ผงาด ตามนโยบายของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
แต่ถูกฝ่ายการเมืองและภาคประชาชนตั้งคำถามถึงความโปร่งใสในหลายโครงการ โดยเฉพาะ
“โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน 1.28 ล้านบาท”

ล่าสุด องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ตั้งวงเสวนาข้อหัว “ประมูลรถไฟทางคู่ความโปร่งใสที่ไม่จริงใจ” พบพิรุธหลายปมชี้ให้เห็นว่ามีอาการผิดปกติ

อาทิ “ราคากลางต่ำกว่าราคากลางเพียงเล็กน้อย” นายสุเมธ องกิตติคุณ ผอ.การวิจัย ด้านนโยบายขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ ตั้งคำถามถึงการแข่งขันด้านราคาการก่อสร้าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความโปร่งใส

โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันทุกโครงการของรัฐต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เข้าประมูลทุกราย แต่สิ่งที่เกิดขึ้น นายต่อตระกูล ยมนาค อดีตกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติระบุว่า “โครงการมี 5 งาน 5 สัญญา 5 บริษัทเข้าประมูลพอดิบพอดี ไม่มีบริษัทไหนได้ซ้ำ” เป็นปรากฏการณ์พิสดารที่ 5 บริษัทมากด้วยอิทธิพลชนะไม่ซ้ำงานกันเลย

ที่มาของชัยชนะเกิดจากการเปลี่ยนทีโออาร์ รวมงานโยธา ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณเข้าด้วยกัน มีความโปร่งใสภายใต้กรอบที่กระทรวงคมนาคมจัดทำมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทยหรือ รฟท.

จนบริษัทต่างชาติหรือบริษัทอื่นๆไม่มีโอกาสแจ้งเกิดได้งานเมกะโปรเจ็คต์ เพราะรฟท.เปลี่ยนกติกาการประมูลตีกันผู้ประกอบการขนาดกลาง บริษัทใหญ่ บริษัทต่างชาติ

“ต้องเฉพาะ 5 บริษัทเท่านั้นที่เชี่ยวชาญ ทำให้ประเทศไทยถูกผูกขาดโดย 5 – 6บริษัทใหญ่ ทำให้มีผู้ประมูลเพียง 5 สัญญา” นายประจักษ์ ทรัพย์มณี ผู้สังเกตการณ์โครงการรถไฟทางคู่ แสดงความไม่เห็นด้วย
แค่นี้คงเพียงพอสำหรับชี้ให้เห็น “พฤติการณ์ส่อไปในทางมิชอบ จนเกิดปัญหาการทุจริต”

วงเสวนาส่งสัญญาณตรงไปถึง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ผู้ประกาศทำให้การปลอดคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติว่า โครงการอื้อฉาวเยี่ยงนี้ รัฐบาลและครม.ต้องใช้อำนาจควบคุมทำให้โปร่งใส เป็นที่ยอมรัฐของสังคม

นายกฯประชุมครม.ผ่านระบบ Video Conferenceวันที่ 29มิ.ย.64

“ราษฎรเต็มขั้น” ขอเสนอเพิ่มเป็นประตูทางออกอีกช่อง ถึงคิวของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องแอกชั่นดำเนินการเชิงรุก โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบโครงการนี้มีช่องโหว่ หรือมีความเสี่ยงเกิดความเสียหายหรือไม่

เพื่อให้ป.ป.ช.แทงข้อเสนอแนะแจ้งไปยังหน่วยงานนั้นดำเนินการแก้ไขได้ทันทีหรืออาจให้สำนักงานเฝ้าระวังและประเมินการทุจริต ตรวจสอบโครงการที่มีเหตุ “อันควรสงสัยมีพฤติการณ์ส่อทุจริต”

จังหวะลูกบอลไหลเข้าเท้าแล้วไม่คลิ๊กออฟ จะมีสำนักงานเฝ้าระวังและประเมินการทุจริต และป.ป.ช.ไว้ทำไม

…………………..

คอลัมน์ : ไขกุญแจ/ไขแหลก

โดย…“ราษฎรเต็มขั้น”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img