วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEเปิดใจลูกชาวนา-แม่ทัพรับศึกน้ำ2564 ‘ห่วงทุกที่-บ้านสักหลังไม่อยากให้ท่วม’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดใจลูกชาวนา-แม่ทัพรับศึกน้ำ2564 ‘ห่วงทุกที่-บ้านสักหลังไม่อยากให้ท่วม’

อธิบดีกรมชลฯ ลั่น “ห่วงทุกพื้นที่ระบุเป็นลูกชาวนา ไม่อยากให้น้ำท่วมชาวบ้านแม้แต่ตารางนิ้วเดียว” สั่งขรก.เร่งลงพื้นที่ ช่วยเกษตรกรเดือดร้อน ยันหน้าแล้งปีนี้มีน้ำ ส่งช่วยนาปรังภาคกลางได้เพิ่ม 1.5 ล้านไร่

อุทกภัยใหญ่ปีนี้นับว่าสาหัสเกือบใกล้เคียงปี 2554 โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำภาคกลาง รับทั้งน้ำเหนือ และน้ำฝน เรียกว่าน้ำท่วมก่อน แต่น้ำลดหลังสุด ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาน้ำหลากล้นตลิ่ง กรมชลประทาน เป็นด่านหน้าจัดจราจรทางน้ำ หากผันน้ำเข้าทุ่งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งใดจะถูกชาวบ้านต่อว่าทุกครั้ง หาว่าเลือกปฏิบัติ ให้น้ำท่วมมากทางโน้น แต่ทางนี้ไม่ท่วม ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หัวใจของการชลประทาน คือการบริหารจัดการน้ำที่มีปริมาณมหาศาล ให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด และให้คนเดือดร้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

“ประพิศ จันทร์มา” อธิบดีกรมชลประทาน แม่ทัพรับศึกน้ำ ประเดิมงานยากหนักกว่าทุกฤดูกาลที่ผ่านมา ทีมข่าวการเมือง “เดอะคีย์นิวส์-The Key News” จึงไปขอจับเข่าคุยถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

Q : รู้สึกอย่างไร น้ำท่วมทุกครั้งกรมชลฯจะเป็นจำเลยถูกตำหนิ

A : “ถูกด่า ไม่เป็นไร” เอาที่บ่น ๆ มาเป็นบทเรียน ซึ่งก็เป็นภาระหน้าที่ของเรา จริงๆ ที่ผ่านมา ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่เคยถึงระดับพัน ลบ.ม.ต่อวินาที มา 3 ปีแล้ว มาปีนี้ขึ้น 2 พันกว่าลบ.ม.ต่อวินาที ถามว่าแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปกติน้ำไม่มาพร้อมกัน แต่ปีนี้มาพร้อมกัน ปกติแม่น้ำเจ้าพระยามา แม่น้ำป่าสัก ก็ตามมาติด ๆ ระบายท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 2.4 พันลบ.ม. พายุกระหน่ำอีก แม่เจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก เพิ่มแม่น้ำท่าจีนอีก ตีพร้อมกันสามขาเลยพร้อมกัน เราก็ต้องระดมทุกอย่างไปรับมือ ทุ่มเททรัพยากรคนและอุปกรณ์ทั้งหมดไปสู้ เพื่อให้ความเสียหายมันเกิดขึ้นน้อยที่สุด จำกัดวงความเดือนร้อนให้ได้ แต่จะไม่ให้เดือดร้อนเสียหายคงไม่ได้ เพราะน้ำมามากทุกทาง

“เราอย่าไปโกรธใคร เราเป็นข้าราชการ อยู่กับน้ำ น้ำมากสูบออก น้ำน้อยหาเข้า ขณะนี้เปิดประตูระบายน้ำสีหนารถ ระบายออก 42 ล้านลบ.ม.ต่อวัน สิ้นเดือนนี้หลายทุ่งน้ำลด พยายามตัดออกข้างมากที่สุด แล้วค่อยลงแนวดิ่ง ตรงไหนออกได้ทำหมด ผมเห็นใจทุกคน ถ้าเป็นไปได้ แม้แต่ตารางนิ้วไม่ให้ท่วม บ้านสักหลังเดียวไม่ให้ท่วม”

Q : พื้นที่ลุ่มต่ำ 11 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยา จะกลับสู่ปกติเร็วที่สุดเมื่อไหร่

A : น้ำใน 11 ทุ่ง ลุ่มเจ้าพระยา จะระบายหมดเร็วที่สุด ประมาณต้นเดือนหน้า บางทุ่งปลายเดือนนี้ บางพื้นที่น้ำลดถนนโผล่ ค่อยๆทะยอย ไม่วูบวาบระบายทิ้งลงทะเล จะมีน้ำค้างทุ่งไว้ ให้เกษตรกรทำนา หว่านข้าว ข้าวงอก สูบน้ำกลับไปใช้ ผมประชุมร่วมกับชาวบ้านบริเวณทุ่งเจ้าเจ็ด จ.พระนครศรีอยุธยา ชาวนาต้องการให้ส่งน้ำช่วงเดือนพ.ค.ด้วยเพื่อทำนาปรัง ผมยืนยันมีน้ำต้นทุนสำรองไว้ช่วงหน้าฝนสามารถส่งน้ำให้ทำนา 2 รอบ จนถึงเดือนพ.ค.เข้าฤดูฝน โดยช่วงฤดูแล้งนี้จะส่งน้ำให้ภาคเกษตร ได้กว่า 4 ล้านไร่ เป็นนโยบายรัฐบาล ให้ช่วยเหลือส่งน้ำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกจนถึงฤดูฝน และส่งน้ำเสริมให้ในช่วงฝนทิ้งช่วง

ปีนี้ปัญหาน้ำเค็มรุกแม่น้ำเจ้าพระยา หมดห่วง ค่าความปากอ่าว ยังอยู่ไกล ผมคุยทีมงาน รองอธิบดี ให้โจทย์ข้อหนึ่ง ลองรักษาระดับน้ำเขื่อนเจ้าพระยาไว้ที่ +16.5 รทก.ให้นานที่สุด เพื่อประหยัดน้ำที่ต้องปล่อยจากเขื่อน รวมทั้งไปทำตัวเลขความต้องการใช้น้ำอย่างชัดเจน เพื่อใช้น้ำในเขื่อนให้ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด เพราะปีที่ผ่านมาเราเสียน้ำในเขื่อนไปต่อสู้กับน้ำเค็มมหาศาล ถ้าบริหารจัดการให้ดีขึ้นอีก เราก็จะใช้น้ำไปช่วยสร้างรายได้ให้ประชาชนมากขึ้น

สำหรับแผนจัดสรรน้ำ 4 กิจกรรมหลัก อุปโภค บริโภค รักษาระบบนิเวศ และภาคเกษตร ช่วงฤดูแล้งนี้ปีหน้านี้ จะใช้น้ำกว่า 5,700 ล้านลบ.ม. และสำรองไว้กรณีฝนช่วงทิ้งช่วงในฤดูฝนอีก 3,000 ล้านลบ.ม. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีเกือบทุกอ่าง ยกเว้นเขื่อนแม่กวง จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย ไม่ถึงร้อยละ 30 แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไร

Q : ปีนี้จะขอความร่วมมือเกษตรกรงดทำนาปรังรอบ2หรือไม่

A : พื้นที่ทำนาปรัง 1.3 ล้านไร่ ในพื้นที่ลุ่มต่ำภาคกลาง ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ยืนยันว่าเราจะนำน้ำที่ท่วมอยู่ ออกให้เร็วที่สุด หลังจากน้ำลดลงแล้ว ผมสั่งให้ข้าราชการทุกโครงการชลประทาน ออกไปหาชาวบ้านไปมีส่วนร่วม สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ว่าน้ำที่เหลืออยู่ควรทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ละพื้นที่ท่วมมากน้อยต่างกัน จะต้องประชาสัมพันธ์ให้พี่น้องเกษตรกร เตรียมแปลงเพาะปลูก และนำน้ำที่ยังเหลืออยู่ในพื้นที่ วนกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ นี่คือแนวคิดกรมชลประทาน สร้างการรับรู้กับชาวบ้าน ว่าน้ำที่เกิดผลกระทบ ขณะเดียวกันสามารถนำกลับมาสร้างประโยชน์ได้ หลายพื้นที่ลักษณะเป็นท้องกะทะ ให้ทำนาไล่น้ำ ประชาสัมพันธ์ให้ทำเกษตรรับรู้ว่าต้องมีน้ำค้างทุ่งเอาไว้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Q : แผนระบายน้ำออก และให้นำน้ำกลับไปใช้ใหม่ จะประชาสัมพันธ์ชาวบ้านอย่างไร

A : ผมลงพื้นที่ตลอดไปประชุมชี้แจงชาวบ้านร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.อบจ.สภาเกษตรกร เราทำงานกันทุกวันไม่มีหยุดเสาร์-อาทิตย์ เราเองก็รู้ชาวบ้านเดือดร้อน การสัญจรไปมาลำบากจากน้ำท่วม บ้านเรือน ถนนหนทาง ซึ่งยังมีปริมาณน้ำที่เกินต้องรีบนำออกไป เมื่อระดับน้ำลดลงมา ทำนาไล่น้ำ สูบน้ำวนเวียน สามารถให้ทำเกษตรกรรมต่อเนื่องได้

เราดูทุกกิจกรรม สิ่งสำคัญพี่น้องเกษตรกรได้รับผลกระทบ เราต้องดูแล เช่น พื้นที่น้ำท่วม 1.3 ล้านไร่ และมีพื้นที่ขยายอีก 1.5 ล้านไร่ ซึ่งเกิดขึ้นทุกปี คาดการณ์ว่าเกษตรกรต้องปลูกข้าวนาปรังแน่นอน บางรายมีแหล่งน้ำของตนเองสามารถทำนาได้ ขณะเดียวกัน กรมชลประทานจะสนับสนุนน้ำไม่ให้นาข้าวได้รับความเสียหาย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ก็ประสบผลสำเร็จอย่างปีที่แล้วจัดเวรใช้น้ำ ไม่มีข้าวยืนต้นตาย อะไรที่ทำดีอยู่แล้ว พัฒนาต่อยอด เอาบทเรียนที่ผ่านมาอะไรที่เป็นจุดอ่อน แก้ไขปรับปรุงให้เป็นจุดแข็ง ได้สั่งเจ้าหน้าที่ชลประทานทุกคน ผมเน้นย้ำว่าเราทำงานนอกจากภาระหน้าที่แล้ว ต้องเอาใจไปทำงาน วันนี้เราทำด้วยใจ นี่คือมิติใหม่

“ผมเป็นลูกชาวนา ผมเข้าใจความทุกข์ยาก หัวอกคนเป็นชาวนา เวลาอย่างนี้เดือดร้อนเป็นอย่างไร ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยกันคิด ช่วยกันพิจารณาตัดสินใจร่วมกันกับเกษตรกร เป็นเรื่องที่ดี ไปช่วยคนในวันที่เขาเดือดร้อนเป็นทุกข์ ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือจะได้ใจกัน”

Q : ตอนนี้สถานการณ์ฝนภาคใต้ มีมาตรการป้องกันน้ำท่วมไว้อย่างไร

A : ได้สั่งการให้ทุกโครงการชลประทาน ตั้งแต่จ.เพชรบุรี ลงไปให้ติดตามสถานการณ์ฝนอย่างใกล้ชิด ตอนนี้เข้าหน้าฝนภาคใต้ ช่วงนี้มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ซึ่งมีโครงการผันน้ำเลี่ยงเมือง หลายพื้นที่ กำลังก่อสร้างหลายจังหวัด ขอให้พี่น้องภาคใต้ ติดตามการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา อย่างใกล้ชิด หากต้องการให้กรมชลประทาน ช่วยเหลือสามารถโทรสายด่วน 1460 มีเจ้าหน้าที่ทุกโครงการ 24 ชั่วโมง เตรียมพร้อมเครื่องมือ เครื่องจักร พร้อมช่วยเหลือทุกเวลา

“เดือนพ.ย.- ธ.ค.-ม.ค.พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เช่น จ.นครศรีธรรมราช ถ้าฝนตกที่ทุ่งสง ส่งผลกระทบถึง จ.ตรัง แม้ว่าระบายน้ำเลี่ยงเมือง ยังไม่เสร็จ สามารถใช้ได้ ระบายน้ำได้ 400 ลบ.ม.วินาที และโครงการอ้อมเมืองพัทลุง กำลังเดินหน้าก่อสร้าง”

Q : ปีนี้สถานการณ์น้ำภาคใต้ น่าเป็นห่วงหรือไม่

A : ผมห่วงทั้งประเทศ และภาคใต้ปีนี้กังวลเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น จ.ตรัง ช่วงคอขวด ที่หาดใหญ่ จ.สงขลา อ.สะเดา อ.ระโนด คาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งได้นำบทเรียนที่ผ่านมามาปรับใช้ และเตรียมไม้เครื่องมือลงไปพร้อมแล้ว ทั้งที่จ.พัทลุง และจ.นครศรีธรรมราช หากฝนตกที่คีรีวง ต้องระวัง คลองท่าดี ท่าพระ ซึ่งมีการขุดลอกหมดแล้ว สำหรับโครงการเขื่อนวังหีบ ยังอยู่ระหว่างการหารือของคณะกรรมการ3ฝ่าย แต่ในภาพรวมเชื่อว่าปีนี้ จะสามารถบริหารจัดการน้ำในภาคใต้ได้แน่นอน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img