วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
หน้าแรกNEWSกพท.คาดธุรกิจการบินไทยกลับมาฟื้นตัวปี 67
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กพท.คาดธุรกิจการบินไทยกลับมาฟื้นตัวปี 67

 กพท.ประเมินธุรกิจการบินไทยฟื้นตัวปี 67 หลังเผชิญโควิด คาดผู้โดยสารทั่วโลกฟื้นกลับได้ในปี 68 เผยวิกฤติรอบนี้ใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัว

นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หรือ กพท. เปิดเผยว่า คาดธุรกิจการบินของไทยฟื้นตัวในปี 67 ได้ใกล้เคียงในปี 62 หรือช่วงก่อนโควิด ซึ่งเร็วกว่าประเทศอื่นที่คาดว่าในปี 68 โดยวิกฤตรอบนี้ใช้เวลา 5-6 ปี จากเดิมใช้เวลาเพียง 2 ปีหลังเผชิญวิกฤตแต่ละครั้ง

โดยปัจจุบันเส้นทางในประเทศ (Domestic) มีปริมาณเที่ยวบินใกล้เคียงปี 62 แล้ว แต่ในส่วนเส้นทางระหว่างประเทศยังขึ้นน้อยกว่า ล่าสุดเดือนม.ค.66 จำนวนผู้โดยสารต่างประเทศอยู่ที่ 4.6 ล้านคน ผู้โดยสารในประเทศ 5.8 ล้านคน ส่วนปริมาณเที่ยวบิน ต่างประเทศ 24,364 เที่ยวบิน เที่ยวบินในประเทศ 38,749 เที่ยวบิน

ทั้งนี้ในปี 62 ไทยมีจำนวนผู้โดยสารต่างชาติ 80 ล้านคน (ไปกลับ) และจำนวนเที่ยวบิน 1.7 ล้านเที่ยวบิน ถือเป็นปีที่มีสถิติสูงสุดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินของของไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี โดยเฉพาะในปี 2564 ที่มีจำนวนผู้โดยสารเพียง 20,926,173 คน คิดเป็นร้อยละ 35.92 จากสถิติของปี 2563 และจำนวนเที่ยวบินอยู่ที่ 257,948 เที่ยวบิน คิดเป็นร้อยละ 51.54 จากสถิติของปี 2563

โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับปี 2562 จำนวนผู้โดยสารในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 12.68 จากสถิติของปี 2562 และเที่ยวบินในปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 24.16 จากสถิติของปี 2562 ตามลำดับ  แต่เมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ สถานการณ์ด้านการบินก็กลับมาดีขึ้น โดยในปี 2565 มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเป็น 75,815,455 คน และเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น 570,360 เที่ยวบิน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี  โดยคาดการณ์ว่าจำนวนผู้โดยสารจากทั่วโลกจะฟื้นตัวและกลับมาเท่ากับปี 2562 ในช่วงปี 2567 – 2568
 

นอกจากนี้ได้จัดทำแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินปี 2565-2568 ภายใต้กรอบแนวคิดที่มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการบินสามารถ “อยู่รอด เข้มแข็ง และยั่งยืน” โดยในปี 2566-2567 เป็นการดำเนินการในระยะกลาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับ เพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมการบินภายใต้ยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี เช่น เป้าหมายของปี 2566 คือ สามารถออกใบรับรองการดำเนินงานสนามบินสาธารณะเพิ่มอีก 8 สนามบิน มีระบบจัดการสิ่งแวดล้อมของสนามบิน (EMS) สามารถเข้ารับการตรวจประเมินจาก ICAO เพื่อยกระดับมาตรฐานของประเทศ
          

สำหรับการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา และแนวทางการบริหารจัดการการใช้งานอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินหรือโดรน ปัจจุบันโดรนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตหลากหลายด้านและคาดการณ์บทบาทในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโดรนเพื่อความบันเทิง โดรนเพื่อกู้ภัย โดรนเพื่อการเกษตร  โดรนเพื่อการขนส่ง เป็นต้น โดยเฉพาะโดรนเพื่อการเกษตร ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2562 มีจำนวนผู้ขึ้นทะเบียนเพียง 328 ลำ และเพิ่มขึ้นเป็น 4,836 ลำในปี 2565 ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ


อย่างไรก็ตามได้จัดทำแผนแม่บทอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบิน เพื่อเป็นแผนหลักในการขับเคลื่อนระบบอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งด้านห้วงอากาศ โครงสร้างพื้นฐานอากาศยาน สถาบันฝึกอบรม การซ่อมบำรุง เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและส่งเสริมให้กิจการอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินในประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img