วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlight“ดอลลาร์แข็ง” ทุบสกุลเงินภูมิภาคอ่อนยกแผง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ดอลลาร์แข็ง” ทุบสกุลเงินภูมิภาคอ่อนยกแผง

แบงก์กรุงศรีอยุธยาเผยสถิติการเคลื่อนไหวสุกลเงินภูมิภาคเอเชียช่วง 4 เดือนทุกสกุลอ่อนค่า ดอลลาร์-ไต้หวันนำโด่ง หลังดอลลาร์แข็งรับข่าวเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ย-ลดขนาดงบดุล เกาะติดประชุมเฟด-บีโอเจ-ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ

รายงานข่าวจากธนาคารกรุงศรีอยุธยาแจ้งว่า การเคลื่อนไหวสกุลภูมิภาคช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาของปีนี้(ม.ค.-เม.ย. ) พบว่าทุกสกุลอ่อนค่า หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดเตรียมปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อที่สูงขึ้น และล่าสุดในการประชุมวันที่ 3-4 พ.ค.นี้ตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.5% และลดขนาดงบดุลอีก 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแต่ต้องดูว่าเฟดมีนโยบายส่งสัญญาณการเงินอย่างไร

ทั้งนี้จากนโยบายการเงินที่ตึงตัวของเฟดส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคนี้อ่อนค่าลงนำโดยดอลลาร์-ไต้หวัน 6.2% วอน-เกาหลีใต้ 6% ริงกิต-มาเลเซีย 4.3% หยวน -จีน 3.8% บาท-ไทย 3% รูปี-อินเดีย 2.8% เปโซ-ฟิลิปปินส์ 2.6% ดอลลาร์-สิงคโปร์ 2.5% รูเปียห์-อินโดนีเซีย 1.7% ดอง-เวียดนาม 0.6%

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในช่วงที่เหลือของสัปดาห์คือการประุชุมธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐ อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนทะลุ 35 บาทต่อดอลลาร์ในไตรมาส 2 ของปีนี้ เพราะหลังจากเฟดปรับขึ้นดอกเบี้ยจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและนักลงทุนหันไปถือครองมากขึ้น

แต่ครึ่งหลังของปีนี้มองว่าเงินบาทอาจกลับแข็งค่าได้ หลังจากที่ตลาดรับรู้ข่าวการปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว ส่วนการท่องเที่ยวแม้ว่ารัฐจะเปิดประเทศแต่ยังไม่กลับมาโดยเร็ว เนื่องจากจีนยังเผชิญกับโควิดและในบางพื้นที่ปิดเมืองเป็นปัจจัยหนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นไปอีก ส่วนการค้าระหว่างประเทศไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบเพราะค่าเงินส่วนใหญ่อ่อนค่าเหมือนกันหมด

อย่างไรก็ตาม กรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินอยู่ที่ 34.15-34.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ผู้ส่งออกและนำเข้าควรป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อลดการขาดทุน เพราะที่ผ่านมาค่าเงินผันผวนเร็ว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img