วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกHighlightรัฐบาลแนะท่องเที่ยว“สายมู”อย่างมีสติ ไม่ลุ่มหลงป้องกันการถูกหลอกลวง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐบาลแนะท่องเที่ยว“สายมู”อย่างมีสติ ไม่ลุ่มหลงป้องกันการถูกหลอกลวง

รองโฆษก “ไตรศุลี” เผยรัฐบาลหนุนการท่องเที่ยวเชิงศรัทธาและวัฒนธรรมอันดีงาม ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณก่อนเชื่อหรือบูชายกสิ่งใดเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีสติไม่ลุ่มหลงป้องกันการถูกหลอกลวง

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่ปรากฎว่าการท่องเที่ยวเชิงความเชื่อ ความศรัทธา หรือที่นิยมเรียกว่าเที่ยวแบบ “มูเตลู” ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในระยะหลายปีที่ผ่านมา แนวโน้มดังกล่าวได้สนับสนุนท่องเที่ยวโดยเฉพาะในท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศมีความคึกคักสร้างโอกาสในการหารายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ที่พัก อาหาร บริการนำเที่ยว การขายของที่ระลึกต่างๆ

อย่างไรก็ตาม ด้วยกระแสการให้ความสนใจจากทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ได้ทำให้มีการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หรือ “สิ่งศักดิ์สิทธิ” ใหม่ๆ ที่บางสิ่งที่มีการแนะนำจากบุคคลที่มีชื่อเสียง สื่อสังคมออนไลน์มีการโพสต์ภาพ ส่งต่อภาพจนเกิดกระแส มีการชักชวนประชาชนนักท่องเที่ยวไปกราบไหว้นับถือ แต่ได้มีการตั้งข้อสงสัย ข้อคำถามจากนักวิชาการ ผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมไทย ถึงที่มาที่ไปของการเกิดขึ้น กรณีเช่นนี้ขอให้ประชาชนใช้วิจารณาญาณ ศึกษาความเป็นมาก่อนเชื่อและนับถือ ศรัทธาและกราบไหว้ พิจารณารอบด้านว่ากรณีที่กำลังมีการเชิญชวนนั้นเข้าลักษณะทำการตลาด หรือมีธุรกิจแอบแฝงหรือไม่

“เกี่ยวกับความเชื่อหรือเลือกนับถือศรัทธาสิ่งใดนั้นถือเป็นสิทธิของประชาชนทุกท่าน ประเทศไทยเราไม่มีกฎหมายห้ามตราบเท่าที่ไม่มีการกระทำที่เกินขอบเขตกฎหมายเช่นการหลอกลวง ฉ้อโกงต่างๆ แต่ในกรณีสิ่งใดที่เกิดเป็นกระแสใหม่ๆ ในสื่อโซเชียลมีเดียนั้นอยากขอให้ประชาชนพิจารณาถึงประวัติความเป็นมา ความน่าเชื่อถือ วัฒนธรรมอันดีงามของไทย การไม่เบียดเบียนชีวิตอื่น หรือหากเชื่อในสิ่งใดของให้เชื่ออย่างมีสติ ไม่ลุ่มหลงจนอาจตกเป็นเหยื่อและถูกหลอกลวงจากผู้ไม่ประสงค์ดีได้”น.ส.ไตรศุลี กล่าว

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า การท่องเที่ยวแบบมูเตลู ซึ่งจะมีลักษณะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อขอพร, บนบาน, ชมสถานที่สำคัญ, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมไปถึงการบูชาเครื่องรางของขลัง ถือเป็น Soft Power ที่หลายประเทศใช้ในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและเผยแพร่วัฒนธรรม ในส่วนของไทยเองก็มีศักยภาพเนื่องจากมีแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติความเป็นมาเชิงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานอยู่จำนวนมาก

กระทรวงพาณิชย์เคยเก็บรวบรวมข้อมูล ณ ปี 2562 พบว่าในประเทศไทยเฉพาะการแสวงบุญนั้นสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากถึง 10,800 ล้านบาท คิดเป็น 0.36% ต่อมูลค่าการท่องเที่ยวโดยรวมของประเทศ ซึ่งด้วยกระแสที่การท่องเที่ยวลักษณะนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในขณะนี้ทำให้คาดว่ามูลค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นมากพอสมควร ส่วนข้อมูลระดับโลกจากรายงานของ Future Markets Insight ระบุว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวเชิงศรัทราของทุกประเทศทั่วโลก ณ ปี 2565 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.37 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์จะเพิ่มขึ้นถึง 4.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2576 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 3 เท่าตัวภายในระยะเวลา 10 ปี

โดยที่ผ่านมารัฐบาลจะให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบมูเตลู ซึ่งหน่วยงานเกี่ยวข้องเช่นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ร่วมงานกับท้องถิ่นจัดกิจกรรมเพื่อแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าไปในแต่ละพื้นที่ แต่ทั้งหมดให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้รู้จักวัฒนธรรมอันดีงามในแต่ละท้องถิ่น แต่ไม่สนับสนุนให้เกิดความเชื่องมงาย ดูแลให้มีความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจกับผลกระทบที่อาจเกิดจากการบิดเบือนให้เกิดความเข้าใจผิด จนเป็นความลุ่มหลง และเปิดโอกาสให้เกิดการหลอกลวงจากผู้ไม่ประสงค์ดี

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img