วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกNEWSไข้เลือดออกพุ่ง 3 เท่าในรอบ 3 ปี ป่วยเกือบ 3 แสนราย “โควิด-ไข้หวัดใหญ่”ไม่แผ่ว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ไข้เลือดออกพุ่ง 3 เท่าในรอบ 3 ปี ป่วยเกือบ 3 แสนราย “โควิด-ไข้หวัดใหญ่”ไม่แผ่ว

กรมควบคุมโรค พยากรณ์ไข้เลือดออกพุ่ง 3 เท่า ในรอบ 3 ปี ป่วยเกือบ 3 แสนราย ห่วงติดเชื้อครั้งที่ 2 โรครุนแรงขึ้น พบได้ทั้งเด็ก –ผู้ใหญ่ “โควิด-ไข้หวัดใหญ่” ยังไม่แผ่ว แนะกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีน อธิบดีคร. เชื่อทุกคนมีโอกาสป่วย 3 โรคสูง

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. ที่กรมควบคุมโรค นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวการพยากรณ์คาดการณ์โรคปี 2567 ว่า กรมควบคุมโรคได้พยากรณ์โรคที่จะมีการระบาดในปี 2567 มี 3 โรค คือ 1.โรคโควิด-19 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อไม่น้อยกว่า 649,520 ราย เข้ารักษาใน รพ.38,672 ราย และเสียชีวิต 852 ราย การป้องกันคือสวมหน้ากากอนามัย ฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงฟรี ปีละ 1 เข็ม ส่วนคนที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงก็สามารถติดต่อขอรับการฉีดวัคซีนฟรีได้เช่นกัน

2.โรคไข้หวัดใหญ่ คาดว่าจะเริ่มระบาดเดือนพ.ค. คาดการณ์ว่าพบผู้ติดเชื้อ 346,110 ราย การป้องกันคือสวมหน้ากากอนามัย และฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง 1 เข็ม และ 3.โรคไข้เลือดออก ซึ่งขณะนี้กำลังระบาดอยู่ ซึ่งพบผู้ป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ย 3 ปี ถึง 3 เท่า แต่คาดว่าปีนี้จะพุ่งสูงราวๆ เดือนเม.ย.เป็นต้นไป และระบาดทั้งประเทศ คาดป่วยอยู่ที่ 276,945 ราย เสียชีวิต 280 ราย จากปี 2566 ป่วย 156,097 ราย เสียชีวิต 187 ราย การป้องกันยุงกัด โดยสวมเสื้อผ้าแขนยาว ขายาว ใช้ทายากันยุง และหากมีอาการไข้สูงลอยควรรีบไปพบแพทย์ ทั้งนี้ ไข้เลือกออกมี 4 สายพันธุ์ ทำให้ 1 คน มีโอกาสป่วยได้ 4 ครั้ง วึ่งหากมีการป่วยขอให้คิดถึงยาพาราเซตามอนเพื่อลดไข้เท่านั้น อย่าไปใช้ยาในกล่มเอ็นเสด เพราะเสี่ยงทำเลือดออกง่าย อาการรุนแรง และเสียชีวิตได้

“ทั้ง 3 โรคนี้ที่มีโอกาสเกิดการระบาดสูง ผมค่ออนข้างมั่นใจว่าประชาชนสามารถที่จะเจ็บป่วยโรคใดโรคหนึ่ง หรืออาจจะป่วยได้ทั้ง 3 โรคที่เราพยากรณ์ไว้ก็ได้” นพ.ธงชัย

นพ.ธงชัย กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มโรคที่ต้องเฝ้าระวัง 12 โรค ที่อาจพบผู้ป่วยสูงขึ้น ได้แก่ 1.โรคมือเท้าปาก พยากรณ์ว่า จะพบผู้ติดเชื้อกว่า 61,470 ราย 2.โรคหัด ขอให้ผู้ปกครองต้องพาบุตรหลานเข้ารับวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก 2 เข็ม ในเข็มแรกตอนอายุ 9-12 เดือน และเข็มสุดท้ายอายุ 1 ปี 6 เดือน 3.โรคฝีดาษวานร คาดการณ์ว่าจะพบผู้ติดเชื้อ 394 ราย โดยเฉพาะชายรักชาย ทั้งนี้ แม้เป็นโรคที่ไม่เสียชีวิตและสามารถหายได้ แต่ก็พบว่าผู้ที่เสียชีวิตเพราะติดเชื้อร่วมกับโรคเอดส์ที่ไม่ได้รับยาต่อเนื่อง 4.โรคเมลิออยโดสิส หรือ โรคไข้ดิน กลุ่มเสี่ยงอยู่ในกลุ่มเกษตรกร คาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อประมาณ 3,400 ราย

ดังนั้นขอให้สวมรองเท้าและหลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่าขณะทำเกษตร 5.โรคฉี่หนู มักเกิดในพื้นที่มีน้ำท่วม น้ำขัง คาดการณ์ว่าพบผู้ติดเชื้อ 2,800 ราย ดังนั้น หากจำเป็นต้องเข้าพื้นที่มีน้ำขังจะต้องใส่รองเท้าบูทป้องกันการโดนน้ำและเมื่อออกมาแล้ว ต้องล้างมือและเท้าให้สะอาด 6.โรคไข้หูดับ ในปี 2566 พบผู้ติดเชื้อรายงานในระบบ 581 ราย เสียชีวิต 29 ราย ส่วนในปีนี้คาดการณ์ว่าจะพบผู้ติดเชื้อ 432 ราย ซึ่งเดิมพบมากแถบภาคเหนือ แต่ปัจจุบันพบผู้ป่วยกระจายตัวมายังภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากการบริโภคเมนูลาบลู่ หมูดิบ จึงขอให้รับประทานอาหารที่สุก สะอาด

7.โรคไวรัสซิกา เป็นโรคที่เกิดจากยุงลาย ความเสี่ยงคือ หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อจะทำให้ทารกในครรภ์พิการทางศีรษะเล็ก โดยปี 2566 พบผู้ติดเชื้อสะสม 758 ราย เป็นหญิงตั้งครรภ์ 41 ราย และทำให้ทารกมีศีรษะเล็ก 13 ราย มีรายงานทางวิชาการพบว่า เชื้อนี้อยู่ในอสุจิได้นานถึง 3 เดือนจึงมีคำแนะนำว่าให้งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือน ที่ติดเชื้อ 8.โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในปี 2566 มีผู้ติดเชื้อสะสม 1,389 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 2.1 ต่อแสนประชากร พบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

9.โรคซิฟิลิส ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้น คาดการณ์มีผู้ติดเชื้อราวๆ 17,273 ราย โดยเฉพาะ กลุ่มเยาวชน และเริ่มพบโรคซิฟิลิสที่ถ่ายทอดไปถึงลูกด้วยจึงต้องรณรงค์ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ 10.โรคหนองใน คาดมีผู้ติดเชื้อ ประมาณ 7,254 ราย ป้องกันแบบเดียวกับหนองใน 11.การติดเชื้อเอชไอวี และการป่วยโรคเอดส์ คาดมีผู้ป่วยติดเชื้อราว 9,366 ราย แนวโน้มทรงตัว ทั้งนี้ประชาชนขอรับชุดตรวจด้วยตัวเองฟรีได้ที่ร้านขายยาหรือสถานบริพยาบาลของรัฐ ปีละ 2 ครั้ง หากผลบวกก็จะเข้าสู่การรักษาด้วยการใช้ยากิน ทั้งนี้ทั่วโลกตั้งเป้าขจัดโรคเอดส์ให้หมดไปในปี 2573 และ 12.โรควัณโรค ปัจจุบันอัตราการป่วยยังทรงตัวและกระจายทั่วประเทศ ปีนี้มีการคาดมีป่วย 82,759 ราย จากปี 2566 ที่มีผู้ป่วย 78,824 ราย โดยตั้งเป้าขขจัดให้หมดไปในปี 2573

ด้าน พญ.จุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ติดครั้งแรกอาการอาจไม่ค่อยรุนแรง ซีเรียสคือการติดเชื้อครั้งที่สอง จะทำให้อาการรุนแรงมาก และจะมีภูมิคุ้มกันขึ้นต่อทุกสายพันธุ์และอยู่ได้นาน ทำให้ครั้งที่สามและสี่จะไม่ค่อยรุนแรง ทั้งนี้การติดเชื้อครั้งที่ 2 สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่กรณีการเสียชีวิตในผู้ใหญ่นั้นพบว่า ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ความดัน เบาหวาน กลุ่มเหล่านี้ต้องรีบวินิจฉัยให้เร็ว การรักษาให้น้ำเกลือ หลีกเลี่ยงเรื่องยาที่อาจเป็นอันตราย

ส่วนกรณีพบเชื้อซิกาอยู่ในอสุจิได้นาน 3 เดือนนั้น เซื้อนี้ไม่ได้มีผลต่ออสุจิ หรือการปฏิสนธิ ที่ให้ระวัง คือการติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ ซึ่งหากภรรยาตั้งครรภ์ ก็อาจจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เพราะเพราะเชื้อซิกาอยู่ในหญิงตั้งครรภ์ได้นาน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลไม่ได้บอกว่าหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อซิกาแล้วลูกจะต้องศีรษะเล็กทุกราย ขึ้นกับสายพันธุ์ด้วย เช่น ที่สหรัฐอเมริกาใต้อาจเป็นสายพันธุ์รุนแรงทำให้เจอศีรษะเล็กเยอะ แต่ไทยไม่ได้ 100% ว่าจะต้องศีรษะเล็ก ต้องติดตามใกล้ชิดต่อไป และจากการติดตามทารกที่คลอดจากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อซิกา 2 ปี ส่วนใหญ่พัฒนาการปกติ อาจเจอเรื่องการได้ยินลดลง และกำลังวิจัยดูเรื่องยารักษาให้หญิงตั้งครรภ์ต่อไป.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img