วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกNEWS"พี่ศรี"ยื่นฟ้องกรมเจ้าท่ากับพวกปล่อยให้ SPRC ทำน้ำมันรั่วทำลายทะเลระยอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พี่ศรี”ยื่นฟ้องกรมเจ้าท่ากับพวกปล่อยให้ SPRC ทำน้ำมันรั่วทำลายทะเลระยอง

“ศรีสุวรรณ”ยื่นฟ้องกรมเจ้าท่ากับพวกปล่อยให้ SPRC ทำน้ำมันรั่วทำลายทะเลระยอง ทำลายระบบนิเวศ-ท่องเที่ยว

วันที่ 25 ก.พ.65 ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และเครือข่ายฯโลกร้อนจังหวัดระยอง ได้เดินทางมายื่นฟ้องอธิบดีกรมเจ้าท่า ที่ 1 รมว.คมนาคม ที่ 2 ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ 3 เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ที่ 5 ต่อศาลปกครองกลาง ฐานใช้อำนาจโดยมิชอบด้วยกฎหมายและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตาม ม.9(1)(2) แห่งพรบ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเกิดกรณีการรั่วไหลของน้ำมันถึง 3 ครั้งจากท่ออ่อนใต้ทะเลบริเวณทุ่นลอย (SPM) ซึ่งห่างจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปในทะเล 20 กม.ของบริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 25 ม.ค.65 วันที่ 10 ก.พ.65 และวันที่ 17 ก.พ.65 ทำให้เกิดคราบน้ำมันแผ่กระจายไปในท้องทะเลอ่าวระยอง จนต้องมีการใช้สารเคมีกำจัดคราบน้ำมัน หรือสาร Dispersant หลายหมื่นลิตรในการกำจัด ทำให้ก้อนน้ำมันตกสะสมอยู่ในท้องทะเลอย่างมหาศาล ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นลูกโซ่ จนยากที่จะประเมินได้

การรั่วไหลของน้ำมันดังกล่าวส่งผลกระทบมาถึงชายหาดแม่รำพึงและใกล้เคียง กระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวของประชาชน กระทบต่อพ่อค้า แม่ค้า นักท่องเที่ยว ชาวประมงพื้นบ้าน และผู้ประกอบการต่อเนื่องอีกมากมายนับหมื่นราย ในขณะที่บริษัทผู้ก่อเหตุและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สามารถจัดการเรื่องชดเชยเยียวยาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วได้ ทั้งๆที่เหตุเกิดมานานเป็นเดือนแล้ว

การที่กรมเจ้าท่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวจัดทำทุ่นลอยและรับส่งน้ำมันทางท่อดังกล่าวกลางท้องทะเล โดยขาดการดูแล ซ่อมบำรุงอย่างเคร่งครัดตามเงื่อนไขในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ถือว่าเป็นเหตุสำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาทบทวนยกเลิกรายงาน EIA ดังกล่าวเพราะมีอายุกว่า 20 ปีมาแล้ว นอกจากนั้นการทำท่อรับส่งน้ำมันมาขึ้นบริเวณท่าเทียบเรือนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแหงชาติ ฉบับที่ 32 (พ.ศ.2552) ลงวันที่ 30 เม.ย.2552 ซึ่งต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษในเขตควบคุมมลพิษที่ท้องถิ่นจัดทำขึ้นเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เพื่อรวมไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดระยองด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าจะมีแผนหรือมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันหรือสารเคมีรั่วไหลในแผนดังกล่าวแต่อย่างใด

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน จึงไม่อาจปล่อยให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 5 รายใช้อำนาจโดยมิชอบและละเลยการปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป จึงนำความมาฟ้องศาลปกครองกลางเป็นระลอกแรก เพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตและรายงาน EIA ทั้งหมดของบริษัทและกิจการดังกล่าวต่อไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img