วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกNEWS“ส.ส.-ส.ว.”ปะฝีปากเถียงใครทำประชุมล่ม เจอสวนก.ม.ปฎิรูปเป็นเรื่องของรัฐบาล-ส.ว.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ส.ส.-ส.ว.”ปะฝีปากเถียงใครทำประชุมล่ม เจอสวนก.ม.ปฎิรูปเป็นเรื่องของรัฐบาล-ส.ว.

เจอกันไม่ได้! ประชุมร่วมถก กม.การศึกษาฯ ส.ส.-ส.ว.ปะฝีปากแต่เช้า เถียงใครเข้าประชุมมากน้อย ใครทำองค์ประชุมล่ม เจอ “เพื่อไทย-ก้าวไกล” ตอกกลับอย่าโยนชั่วใส่คนอื่น ยันกม.ปฎิรูป “รบ.-สว.”ต้องรับผิดชอบเอง

วันที่ 24 ม.ค.2566 ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากครั้งที่ผ่านมา

ทั้งนี้กว่าจะเริ่ทประชุมใช้เวลารอสมาชิกครบองค์ประชุมกว่า 1 ชั่วโมง นายพรเพชร ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภาที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ คือ 674 คน องค์ประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งคือ 337 คน ขณะนี้มีสมาชิกรัฐสภาลงชื่อแล้ว 340 คน ถือว่าครบองค์ประชุม

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระ นายจเด็จ อินสว่าง ส.ว. ขอหารือว่า หลายครั้งที่ประชาชนรู้สึกคับข้องใจ คือสภาฯ ล่ม เพราะองค์ประชุมไม่ครบ ตนไม่มีสิทธิก้าวล่วง แต่มีหลายครั้งที่ประชุมร่วมรัฐสภาล่ม ทั้งที่ประกอบด้วยส.ว. และส.ส. ทำให้เสียเกียรติศักดิ์ และภาพลักษณ์เกิดขึ้นทั้งสองสภา จึงรู้สึกอับอายและคับข้องใจไม่น้อยกว่าประชาชน แต่การประชุมร่วมรัฐสภาทุกครั้ง ส.ว. มาเกินครึ่ง ดังนั้นสภาฯ ล่ม จึงไม่ได้เกิดจากส.ว. ตนจึงอยากแสดงความรู้สึกผ่านไปยังประชาชน เพื่อให้สมาชิกตระหนักในความรับผิดชอบ และตระหนักในเกียรติของสภาฯ และส.ว.ทำไปด้วยความรับผิดชอบ

ทำให้ นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นสวนทันทีว่า เมื่อสักครู่ส.ว. พูดเหมือนกับว่าส.ส. ทำสภาฯ ล่ม และส.ว.ไม่เคยมาต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นการพูดเอาดีใส่ตัวโยนชั่วใส่ผู้อื่น ไม่ควรพูดแบบนี้ เพราะ ส.ส.มีภารกิจมาก ต้องลงพื้นที่ และประชุมกมธ. แต่ส.ว. ไม่มีภารกิจอะไรเลย เอามากางเลย ว่าสภาฯ ล่มได้อย่างไร ท่านเป็นผู้ใหญ่ การพูดแบบนี้ไม่ดี และไม่สร้างสรรค์ จึงอยากให้ถอนคำพูด

ทำให้นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เราอย่าไปโทษใครเลย เราต้องตระหนักสำนึกว่าเราต้องร่วมมือกันในการลงมติ หลังจากนี้ถ้าเราร่วมมือกัน ใครมาก็มา ใครไม่มาก็ปรากฏชัดเจน เรื่ององค์ประชุมเป็นเรื่องความรับผิดชอบร่วมกันของรัฐสภา ตนไม่อยากให้ใครเอาความคิดเห็นข้างนอกเข้ามาพูด เมื่อครบองค์ประชุมแล้วอยากให้ใช้เวลาพิจาณากฎหมายตามลำดับ คาดว่าหลังมาตรา 20 ไปแล้ว ก็จะพิจารณาได้อย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะเสร็จภายในคืนนี้ได้

จากนั้นข้าสู่วาระโดยเป็นการลงมติว่าต่อจากการประชุมครั้งที่แล้วว่าจะเห็นด้วยกับร่างของการแปรญัตติที่ขอสงวนคำแปรญัตติ ที่ให้เพิ่มมาตรา 8/1 ขึ้นใหม่หรือไม่ โดยก่อนลงมติประธานได้ตรวจสอบองค์ประชุม

แต่นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรค พท.เราไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ฯ จึงไม่สมควรจะให้ผ่าน แต่ความจริงว่ากฎหมายนี้เป็นกฎหมายปฏิรูป คนเสนอคือรัฐบาล โดยความเห็นชอบของส.ส.รัฐบาล และส.ว. ดังนั้นองค์ประชุมที่จะผ่านกฎหมายนี้คือส.ส.รัฐบาล และส.ว. ส.ส.ฝ่ายค้านไม่มีหน้าที่มาสนับสนุนกฎหมายของรัฐบาล

ทำให้นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว.ลุกขึ้นมาประท้วงว่า บางครั้งความอดทนไม่จำกัด เพราะขณะนี้มีส.ว.มาเซ็นชื่อแล้วจำนวน 203 คนจาก 250 คน แต่นายพรเพชร ขัดจังหวะว่าถ้าพูดตามข้อเท็จจริงสามารถตรวจสอบได้ว่าใครมาประชุม ทำให้นายกิตติศักดิ์แย้งว่า ต้องบอกประชาชน ไม่เช่นนั้นประชาชนจะไม่ทราบ นายพรเพชร จึงตอบว่า จะขึ้นกระดานให้ประชาชน จึงขอให้นายกิตติศักดิ์ นั่งลง แต่นายกิตติศักดิ์ กล่าวขึ้นว่า หากไม่ให้พูดสงสัยว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากสมาชิก

จากนั้นนายพรเพชร ได้กดออดให้ลงมติและปรากฏว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 8/1 จำนวน 57 ต่อ 311 คะแนน และงดออกเสียง 6 คะแนน เป็นอันว่าที่ประชุมมีมติไม่ให้เพิ่มมาตรา 8/1 ขึ้นใหม่ จากนั้นได้เข้าสู่การพิจารณามาตรา 9

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img