วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกNEWS"จาตุรนต์" ชี้ "รัฐสภา" สร้างบรรทัดฐานผิด ส่อขัดรธน.-หักล้างเจตนารมย์ของปชช.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“จาตุรนต์” ชี้ “รัฐสภา” สร้างบรรทัดฐานผิด ส่อขัดรธน.-หักล้างเจตนารมย์ของปชช.

“จาตุรนต์” ชี้ “รัฐสภา” ลงมติขัดรัฐธรรมนูญ หักล้างเจตนารมย์ของประชาชนส่วนใหญ่ หวั่นนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองในอนาคต สร้างบรรทัดฐานผิด ยันไม่ส่งศาลรธน. ผวานายกฯคนนอก วอนสว.ดวงตาเห็นธรรม รอบโหวต “เพื่อไทย”

วันที่ 19 ก.ค.2566 เวลา 17.30 น.ที่รัฐสภา นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังที่ประชุมรัฐสภามีมติไม่โหวตชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 ว่า ถ้ามีการตีความว่าสิ่งที่เสนอแล้วไม่สามารถเสนอใหม่ได้ เราอาจจะถึงจุดที่หานายกรัฐมนตรีไม่ได้ อย่างน้อย 1 สมัยประชุม ซึ่งถ้าพูดแบบนี้จะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญบอกว่า ให้ที่ประชุมรัฐสภาเลือกนายกฯ จากคนที่มีคุณสมบัติอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ฉะนั้นแสดงให้เห็นว่าที่ไปลงมติกันอย่างนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ผิด และตนมองว่าไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม แต่เราคงไม่ถึงขั้นส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญขนาดนั้น ยังคิดว่ารัฐสภาจะต้องตัดสินใจอะไรกันเอง การที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแบบนี้ถ้าทำกันบ่อยๆ หรือทำไปแล้ว ไม่ว่ากี่ครั้งมันจะเป็นผลเสียต่อบ้านเมือง

“ยืนยันว่าเสียงข้างมากในรัฐสภา ที่องค์ประกอบส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร ได้ลงมติขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหักล้างเจตนารมย์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองในอนาคต”นายจาตุรนต์ กล่าว

เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่ว่าการโหวตเพื่อลงมติครั้งนี้จะเป็นกับดักให้พรรคเพื่อไทยคิดหนักในการโหวตครั้งหน้าหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า จะเป็นปัญหาของเพื่อไทยที่จะเสนอชื่อแคนดิเดตในครั้งต่อไป หากเสนอแล้วไม่ได้รับความเห็นชอบเสียงไม่พอก็จะเสนออีกไม่ได้ และก็จะไหลไปพรรคที่ไม่เห็นด้วย และไม่เสนอชื่อใครแข่ง หรือไหลไปคนนอกก็ยังได้เลยซึ่งตรงนี้ไม่เป็นผลดี และอาจจะทำให้ท้ายสถานการณ์ถูกบีบ ถ้าคุณรวมเสียงไม่ได้จริงอาจไม่ได้ความเห็นชอบ และต่อจากนี้ไปอาจมีปัญหาวุ่นวายขึ้นมาอีกเช่นมีการเสนอชื่อคนที่ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน หรือเสนอบุคคลภายนอกสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

เมื่อถามว่า จะส่งผลให้พรรคเพื่อไทยเปลี่ยนสูตรการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ นายจาตุรนต์ กล่าวว่า อันนี้ต้องให้หัวหน้าพรรคหรือแกนนำพรรคที่กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่ ตนให้ความเห็นไม่ถูก เพราะแกนนำผู้ที่ทำหน้าที่เจรจาจะต้องไปคุยกัน ทั้ง 8 พรรค ส่วนจะดึงพรรคที่ 9 ที่ 10 เข้ามาร่วมด้วยหรือไม่ ยังไม่ได้คุยกันอย่างนั้น เดิมมีการพูดกันทำนองว่าถ้าครั้งนี้โหวตแล้วไม่ผ่าน ก็ต้องดูว่าพรรคก้าวไกล จะเสนอให้เปลี่ยนแคนดิเดตนายกเป็นพรรคเพื่อไทยหรือไม่ วันนี้ไม่มีลงมติจึงกลายเป็นว่าเสนอนายพิทาอีกไม่ได้แล้ว ฉะนั้นการหารือก็คงรวบรัดเข้าไปสู่การเสนอแคนดิเดต จากพรรคเพื่อไทย แต่เรื่องแบบนี้เท่าที่หารือกันคงต้องฟังความเห็นพรรคก้าวไกล และอีก 6 พรรคที่เหลือ

เมื่อถามว่า มองหรือไม่ว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะพุ่งเป้าไปที่พรรคเพื่อไทย นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ยังไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งผลการลงมติในวันนี้ก็เห็นอยู่แล้วว่าใครบ้างที่ลงมติ ใช้ข้อบังคับที่ 41 ไปล้มการโหวตนายกฯ ก็เห็นว่าเป็นพรรคการเมืองบังคับที่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ถึงเสียงจากส.ว.

เมื่อถามว่า ในการโหวตรอบหน้ายังกังวลเสียงของส.ว.หรือไม่ นายจาตุรนต์กล่าวว่า การตัดสินใจของส.ว.ที่ผ่านมาดูเหมือนไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ แน่นอนว่าเราไปหวังอะไรจากส.ว.ยากมาก เว้นแต่ว่าเขาจะเกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นมากระทันหัน ซึ่งฝ่ายพี่จะต้องเป็นผู้ประสานงานการจัดการรัฐบาลจะต้องไปคิด

เมื่อถามว่า มองสถานการณ์การเมืองจากนี้จะเป็นอย่างไร นายจาตุรนต์กล่าวว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะทำให้ประชาชนผิดหวัง ถ้าเป็นอย่างนั้นจะไม่เป็นผลดีต่อสถานการณ์การเมืองของประเทศ หวังว่าหลายฝ่ายจะตั้งสติและช่วยกันคิดหาทางทำอย่างไรไม่ฝืนความรู้สึกประชาชน เอารถเจตนารมณ์ของประชาชน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img