วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
หน้าแรกPR“DEX” ทุ่ม 30 ล้าน ตั้ง “Be Whale” ลุยธุรกิจสื่อบันเทิง-จับมือ “Idol Factory” ส่งออกคอนเท้นต์ Y...
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“DEX” ทุ่ม 30 ล้าน ตั้ง “Be Whale” ลุยธุรกิจสื่อบันเทิง-จับมือ “Idol Factory” ส่งออกคอนเท้นต์ Y ไทยไปญี่ปุ่น

บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) หรือ DEX ผู้ให้บริการธุรกิจคาแรคเตอร์เพื่อความบันเทิงครบวงจร เดินหน้ารุกธุรกิจบันเทิงครั้งใหม่ พร้อมผลักดันคอนเท้นต์ไทยสู่สากล ภายใต้แบรนด์ บี เวล (Be Whale) เตรียมส่งออกคอนเท้นต์จากไทยไปแดนญี่ปุ่นแบบครบวงจร ภายใต้ความร่วมมือกับบริษัท ไอดอล แฟคทอรี่ ภายใต้การบริหารของนักแสดงมากฝีมืออย่าง “เซ้นต์ ศุภพงษ์” ประเดิมส่งทีวีซีรีส์ “ลางสังหรณ์” เอาใจสาวกแดนปลาดิบ พร้อมจัด Fan Meeting ต้นเมษานี้

โดย นายกฤษณ์ สกุลพานิช ประธานบริหาร บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) เปิดเผยว่า การเดินหน้าลงทุนในโปรเจกต์นี้ เกิดจาก DEX ผู้นำเข้าคอนเท้นต์จากญี่ปุ่นมากว่า 20 ปี ทำให้มี Partner หลากหลายบริษัทในญี่ปุ่น เล็งเห็นว่าเนื้อหาคอนเท้นต์ของประเทศไทย มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถเข้าสู่ตลาดสากลได้เช่นกัน โดยเฉพาะซีรีส์ Y (วาย) ของประเทศไทย ที่ไม่ใช่เพียงแต่นำเสนอมุมมองของความรักหลากหลายรูปแบบเท่านั้น แต่ยังใส่ใจเรื่องของวัฒนธรรมความเป็นไทย เนื้อหาที่หลากหลายแง่มุม การถ่ายทำ โปรดักชั่น ที่มีคุณภาพสูง เพื่อทำให้ซีรีส์มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดทำให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึงความใส่ใจในการสร้างสรรค์ผลงานในทุกเรื่อง จนเป็นที่นิยมและสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศมากมาย มองเห็นโอกาสทางธุรกิจนี้ในการส่งออก Content เต็มรูปแบบ ทั้งการบริหารธุรกิจ Content และสนับสนุนนโยบาย Soft Power ของประเทศ

“DEX จึงจัดตั้งแบรนด์ บี เวล (Be Whale) ขึ้น ด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อดูแลธุรกิจการส่งออกคอนเท้นต์แบบครบวงจรไปยังต่างประเทศ โดยเริ่มที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกจากความคุ้นเคยกับตลาดนี้รวมถึงพาร์ทเนอร์ที่พร้อมอยู่แล้ว ก่อนจะขยายตลาดออกไปยังประเทศอื่นในอนาคต โดยร่วมกับ บริษัท ไอดอลแฟคทอรี่ จำกัด หรือ Idol Factory”  นายกฤษณ์ กล่าว

นายกฤษณ์ กล่าวต่อว่า นับเป็นความลงตัวในเวลาที่เหมาะสม ที่ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญในตลาดซีรีส์ Y (วาย) อย่าง Idol Factory ที่มาร่วมผนึกกำลังกับ บี เวล (Be Whale) ในการส่งออกซีรีส์ Y (วาย) ครั้งนี้ เหตุผลสำคัญที่เราเลือก Idol Factory ร่วมงานเพราะทางเขามีความเชี่ยวชาญและมีโปรดักส์ชั่นระดับสากลในการสร้างสรรค์ซีรีส์ Y (วาย) ออกมาในทุกๆ เรื่อง ทำให้เรามั่นใจ และไว้วางใจที่จะจับมือทำงานร่วมกัน รวมไปถึงการส่งออกคอนเท้นต์แบบครบวงจรไปยังประเทศญี่ปุ่น ไม่ใช่เพียงการนำนักแสดงไปพบปะแฟนๆ ที่ญี่ปุ่นเท่านั้น แต่บริษัทฯ ยังทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ และขยาย Content ไปทุกช่องทางสื่อให้มากที่สุด ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์  โดยในปี 2567 นี้ บี เวล (Be Whale) มีแผนส่งออกคอนเท้นต์ของ Idol Factory ไปยังตลาดญี่ปุ่นทั้งหมด ทั้งในรูปแบบ Video On Demand, DVD, Merchandise และรวมทั้งกิจกรรม Fan Meeting โดยเฉพาะซีรีส์ล่าสุด “ลางสังหรณ์ (The Sign)” กำลังจะแพร่ภาพทาง TV ASAHI ช่อง TERASA (ช่องทาง Online) และจัดงาน The Sign Fan Meeting in Japan : Walk by the river ในวันที่ 7 เมษายน 2567 ที่โยโกฮาม่า และ TV Series อีก 3 เรื่อง ใน 3 ไตรมาสของปี 2567 ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจาและสนับสนุนในรูปแบบคล้ายคลึงกัน

ด้าน นายศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา ประธานกรรมการ บริษัท ไอดอลแฟคทอรี่ จํากัด เปิดเผยว่า ด้วยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตซีรีส์ Y (วาย)  ทั้งแนว Boy’s Love (BL) และ Girls’s Love (GL) ได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลามทั้งในและต่างประเทศ เช่น ทีวีซีรีส์เรื่อง THE GAP หรือ ทฤษฎีสีชมพู แสดงนำโดย ฟรีน สโรชา จันทร์กิมฮะ คู่กับ เบ็คกี้ รีเบคก้า แพทรีเซีย อาร์มสตรอง มาก่อน และล่าสุดกับซีรีส์ “ลางสังหรณ์ (The Sign)” ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีจากแฟน ๆ และอีกหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างการถ่ายทำ ปัจจุบันพบว่า ซีรีส์วายของไทย มีสัดส่วนการสร้างรายได้สูงในอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ทั้งรายได้ที่มาจากซีรีส์โดยตรง รวมถึงการขยายไปยังธุรกิจภาพยนตร์ และวงการเพลงต่าง ๆ รวมทั้งรายได้จากตัวนักแสดงที่มาในรูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ หรือการเป็น Presenter โฆษณา ที่มีมูลค่าและรายได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายกฤษณ์ สกุลพานิช ประธานบริหาร บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) กล่าวปิดท้ายว่า ธุรกิจสาย Y (วาย) มีการไหลเวียนเม็ดเงินในตลาดที่สูง พร้อมกับการแข่งขันที่สูงมากขึ้น ความสำเร็จเหล่านี้ไม่ได้เกิดเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ยังมีฐานแฟนในต่างประเทศชื่นชอบคอนเท้นต์สาย Y (วาย) ของไทย และพร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่ ซึ่งการส่งคอนเท้นต์ไปต่างประเทศ จึงเป็นอีกส่วนงานที่ขยายตลาดออกไปภายนอกประเทศเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของคอนเท้นต์และศิลปินมากยิ่งขึ้นได้เป็นอย่างดี และคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้ให้บริษัทเพิ่มกว่า 25% ในปี 2567 

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img