วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE“ภัยออนไลน์”รอบปี ตุ๋นคนไทยวันละ 91 ล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภัยออนไลน์”รอบปี ตุ๋นคนไทยวันละ 91 ล้าน

ภัยออนไลน์ ทุกวันนี้ ต้องถือเป็นภัยคุกคามประเทศไทยในรูปแบบใหม่ เราย้อนดูภาพรวมการดำเนินการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดช่วงรอบปีที่ผ่านมากัน

เว็บไซต์ thaipoliceonline.com มีสถิติการรับแจ้งความในคดีอาชญากรรมทั้งเทคโนโลยี ตั้งแต่ 1 มี.ค.-31 ต.ค.2565 รวม 8 เดือน รวม 114,786 คดี มูลค่าความเสียหาย 22,000 ล้านบาท เฉลี่ยความเสียหายวันละ 91.66 ล้านบาท

จากการวิเคราะห์สถิติคดีที่เกิดขึ้น พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

คดีออนไลน์ที่ความเสียหายสูงสุด

1.คดีหลอกให้ลงทุน
2.คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (Call Center)
3.คดีการโอนเงินเพื่อหารายได้จากการกดไลค์กดแชร์
4.คดีหลอกให้รักแล้วลงทุน
5.คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน

PCT Police

คดีออนไลน์ที่มีสถิติการรับแจ้งความสูงสุด

1.คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า
2.คดีการโอนเงินเพื่อหารายได้จากการกดไลค์กดแชร์ เพิ่มยอดผู้ติดตาม
3.คดีหลอกให้กู้เงินแต่ไม่ได้เงิน
4.คดีหลอกให้ลงทุน
5.คดีหลอกลวงทางโทรศัพท์เป็นขบวนการ (Call Center)

ปัญหาอุปสรรคในการป้องกันและปราบปราม

1.ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
-ข้อความสั้น (SMS) ที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวงประชาชนไปยังโทรศัพท์มือถือ

2.ปัญหาการควบคุมผู้ให้บริการจำหน่ายซิมโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน
—>ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำหน่ายซิมโทรศัพท์แบบเติมเงินให้แก่ร้านค้า
—>พบการลงทะเบียนซิมดังกล่าวในชื่อของร้านค้า
—>พอจำหน่ายซิมโทรศัพท์ให้แก่ลูกค้า ไม่มีการลงทะเบียนผู้ครอบครองซิม
—>เกิดช่องว่างให้มิจฉาชีพ ซื้อซิมเติมเงินจำนวนมาก ใช้โทรหลอกคนในไทย
—>คนร้ายใช้ซิมเติมเงิน สมัครใช้ทำธุรกรรมโมบายล์ แบงกิ้งของธนาคารพาณิชย์

3.ปัญหามิจฉาชีพหลอกให้ผู้เสียหาย โอนเงินเข้าบัญชีม้า
—>ทำธุรกรรมทางออนไลน์ผ่านบัญชีม้าที่จ้างคนเปิดบัญชี
—>ทำธุรกรรมผ่านโมบายล์ แบงกิ้ง ที่ใช้ซิมเติมเงินเพื่ออำพรางการสืบสวนจับกุม

4.ปัญหามิจฉาชีพฟอกเงินบัญชีม้าไปซื้อสินทรัพย์ดิจิทัล
—>ใช้การซื้อขายกันโดยตรง (Peer-to-Peer) ผ่านบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศ
—>ยากต่อการสืบสวนและส่งผลกระทบต่อผู้ขายสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งได้รับเงินจากบัญชีดังกล่าว

5.มิจฉาชีพใช้ข้อมูลเหยื่อจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อหลอกลวง
—>ซื้อโฆษณาเกี่ยวกับกิจัศร้รมที่ประชาชนสนใจในสื่อสังคมออนไลน์
—>จูงใจให้ประชาชนเข้าไปดูโฆษณาดังกล่าวเพื่อทำการหลอกลวง เช่นการลงทุน

การแจ้งเตือนซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วไม่ได้ของ

แนวทางบูรณาการเพื่อป้องกันช่วยเหลือประชาชน

1.การประสานขอความร่วมมือกับธนาคาร
—> ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะต้องมีผู้ปกครองร่วมลงลายมือชื่อ
—> ป้องกันเปิดบัญชีม้า ใช้เด็กเลี่ยงการรับโทษ

2.ระงับการทำธุรกรรมผ่านทางระบบออนไลน์ในบัญชีธนาคาร
—>เมื่อพบการทำธุรกรรมออนไลน์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะชายแดนไทย
—>ยกเว้นบุคคลหรือนิติบุคคล ที่สามารถยืนยันตัวตนได้
—>สามารถระงับบัญชีและธุรกรรมอันน่าสงสัยจากชายแดนได้ใน 5 นาที
—>กำหนดยอดไม่เกิน 50,000 บาท/วัน สำหรับธุรกรรมโมบายล์แบงกิ้งโดยซิมเติมเงิน

3.ให้ธนาคารส่งข้อความสั้น (SMS) ไปยังมือถือลูกค้า
—>ให้ระวังคนร้ายหลอกลวงเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ มาขอตรวจสอบข้อมูลการเงิน
—>ไม่ทำธุรกรรม หรือลงทุนออนไลน์ กับบริษัทที่ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้

มาตรการเร่งด่วน สั่งลงทะเบียน “ซิมเติมเงิน”

—>มีบุคคลถือครองเลขหมายโทรศัพท์มากกว่า 5 เลขหมาย จำนวนมาก
—>กสทช. กำหนดให้ผู้ใช้บริการมากกว่า 5 เลขหมายต้องแสดงตนที่ศูนย์บริการ
—>ดำเนินการกวดขันให้ผู้ประกอบการฯ ทุกรายปฏิบัติตามประกาศ กสทช.
—>มีข้อกังวลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่

หลังจากนี้ เจ้าหน้าที่จะเร่งหาทางประชาสัมพันธ์ ป้องกันและปราบปรามกลุ่มอาชญากร ที่ใช้เทคโนโลยีกระทำผิด หลอกลวงประชาชนคนไทย จนเกิดความเสียหายมูลค่ามหาศาล

แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนทุกคนเอง ก็ต้องพึงมีสติอยู่เสมอ โดยเฉพาะการกระทำธุรกรรมโอนเงินใดๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับตนเอง

………………..

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img