วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE“กฎหมายประวัติอาชญากรรม” คุ้มครองสังคม-ให้โอกาสคนผิด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กฎหมายประวัติอาชญากรรม” คุ้มครองสังคม-ให้โอกาสคนผิด

ทำความรู้จัก ร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม ของกระทรวงยุติธรรม โดยกฎหมายฉบับนี้ มุ่งหวังการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน ให้ผู้พ้นโทษ ผู้ต้องหาที่มีคดีอาชญากรรมสามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขในสังคม

เหตุผลร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม

บุคคลที่มีประวัติอาชญากรรมติดตัว ยากแก่การทำงาน หรือเข้าสังคม

ส่งผลให้ผู้เคยต้องโทษ หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำ

ทำให้เกิดปัญหาเรือนจำแออัด นักโทษล้นคุก

มีความจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลประวัติอาชญากรรม

สาระสำคัญในร่างกฎหมายประวัติอาชญากรรม

มีคณะกรรมการบริหารจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม รวม 11 คน

กําหนดนโยบายการจัดการ พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล

มีข้อกำหนดการเปิดเผยและไม่เปิดเผยซึ่งประวัติอาชญากรรม

มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสังคม และการให้โอกาสผู้กระทำความผิด

กรณีห้ามมิให้มีการเปิดเผยประวัติอาชญากรรม

เจ้าของประวัติกระทำขึ้นในขณะเป็นเด็กหรือเยาวชน

เจ้าของประวัติซึ่งได้รับการล้างมลทินตามกฎหมาย

พ้นระยะ 5 ปี นับแต่พ้นโทษตามคำพิพากษา และมิได้กระทำความผิดใดอีก

ศาลมีคำพิพากษา คดีประมาท ความผิดลหุโทษ

ความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท

ความผิดอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง

เจ้าของประวัติมีสิทธิปฏิเสธถึงการมีอยู่ของประวัติอาชญากรรมของตนได้

กรณีให้เปิดเผยประวัติอาชญากรรม

ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ

ความผิดเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ

ความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี

ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นซึ่งกระทำโดยเจตนา

ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น หรือชำเราเด็ก

ความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบต่อตำแหน่งหน้าที่

ความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง เช่น พฤติกรรมร้ายแรง โหดร้ายทารุณ หรือกระทำทรมาน

ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อสังคม

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เฉพาะการผลิตจำหน่าย นำเข้าหรือส่งออก

บทลงโทษกรณีฝ่าฝืนกฎหมายประวัติอาชญากรรม

ผู้ทำหน้าที่จัดเก็บ เปิดเผยประวัติอาชญากรรมโดยไม่ชอบ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ที่นำข้อมูลประวัติอาชญากรรมของผู้อื่นไปใช้ และทำให้เจ้าของประวัติเสียหาย จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 250,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลประวัติอาชญากรรม และนำไปใช้หรือเปิดเผยทำให้เจ้าของประวัติเสียหาย จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คุ้มครองสื่อฯ ที่ใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ

การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำการเก็บรวบรวมไว้เฉพาะเพื่อกิจการสื่อมวลชน งานศิลปกรรม หรืองานวรรณกรรมอันเป็นไปตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพหรือเป็นประโยชน์สาธารณะเท่านั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีความผิด

ความคืบหน้าการคัดแยกเพื่อลบประวัติอาชญากรรม

สตช.จัดโครงการล้างประวัติทำความดี ล้างความผิดคืนชีวิตให้ประชาชน

คัดแยกและจัดการประวัติที่มีอยู่แล้ว 12,000,000 รายที่ตกค้าง

ปัจจุบัน เหลืออีก 1,000,000 กว่ารายการที่กำลังดำเนินการ

พบว่ามี 150,000 รายการ ที่คัดแยกเพื่อลบประวัติได้

เงื่อนไขหลัก อัยการสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ศาลไม่ประทับรับฟ้อง ศาลยกฟ้อง 

……………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

ที่มาข้อมูล : รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img