วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlightGC ผนึกพันธมิตรทั้งไทย-โลก ลุยศก.หมุนเวียนสู่ภาคปฏิบัติ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

GC ผนึกพันธมิตรทั้งไทย-โลก ลุยศก.หมุนเวียนสู่ภาคปฏิบัติ

งานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 ร่วมมือกันเพื่อวันพรุ่งนี้ ตอกย้ำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ภาคปฏิบัติ พลิกวิกฤตทรัพยากรโลกอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บมจ.พีทีที โกลบอล เคมีคอล หรือ GC ร่วมกับพันธมิตร จัดงานประชุมระดับโลก ภายใต้งาน GC Circular Living Symposium 2020: Tomorrow Together ชู Circular in Action จากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง ตอบโจทย์การดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พลิกวิกฤตสู่โอกาสในการปฏิวัติการใช้ทรัพยากรโลกอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีขึ้น โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล เปิดเผยระหว่างการเสวนาว่า GC ได้ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักความยั่งยืน ด้วยการสร้างสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ภายใต้แนวคิด GC Circular Living เป็นกุญแจดอกสำคัญ โดยมี 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ

1.Smart Operating การนำเทคโนโลยีแบบใหม่มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดย GC มีเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากกระบวนการผลิตลง 20% ภายในปี 2030 และลดความเข้มข้นของการปล่อย GHG ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลง 52% ภายในปี 2050 โดยมีเป้าหมายในการลด GHG ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทั้งหมด GC ยังเป็นผู้นำที่มีทิศทางการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตโดยขยายขอบเขตจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ออกสู่โซ่คุณค่าทางอ้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (GHG Scope 3) ซึ่งเป้าหมายทั้งหมดนี้ มีส่วนสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก

2.Responsible Caring การคิดค้น พัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำขยะพลาสติกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ก่อสร้าง ยานยนต์ ที่เลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาลงเพื่อลดพลังงานและประหยัดต้นทุน

3.Loop Connecting การสร้างและขยายความร่วมมือร่วมกับทุกภาคส่วน รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อขยายผลสำเร็จและเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร

อย่างไรก็ตามต้องมี 4 ปัจจัยที่นำพาไปสู่ความสำเร็จ ได้แก่ Thought Leader ผู้นำความคิด นวัตกรและนักธุรกิจจากทั่วโลกมาร่วมแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้เพื่อขับเคลื่อนโลกร่วมกัน, Innovation นวัตกรรมจะช่วยสร้างสรรค์สิ่งใหม่ มีสินค้าที่ผลิตด้วยแนวคิด เซอร์คูลาร์อีโคโนมี ออกมาได้จริง, Business Model การออกแบบธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง และสามารถพึ่งพาตนเองได้ และ Ecosystem การสร้างระบบนิเวศเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสามารถอยู่ร่วมกันได้

“GC พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านขยะ น้ำ หรือ อากาศของประเทศ โดยมุ่งเน้นให้มีการแก้ไขอย่างยั่งยืนและบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง GC หวังเป็นอย่างยิ่งว่า GC Circular Living Symposium 2020 จะช่วยพลิกโฉมอนาคต สร้างแรงผลักดันให้ทุกคนร่วมมือกันด้วยจิตสำนึกและความรับผิดชอบ พร้อมนำแนวทาง GC Circular Living ไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน ในแบบ Circular in Action และ สร้างสรรค์วัฒนธรรมหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เริ่มกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อเราทุกคนจะได้สร้าง “วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า” ร่วมกัน”ดร.คงกระพัน กล่าวและว่า แม้ว่าแนวทางการดำเนินงานของเศรษฐกิจหมุนเวียนจะมีต้นทุน แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ช่วยสร้างโอกาสในการเจาะตลาดสินค้าที่สอดคล้องกับกระแสรักษ์โลกที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่ต่าง ๆ ก็ได้เริ่มดำเนินการในแนวทางนี้กันแล้ว

ส่วนความคืบหน้าโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ดร.คงกระพัน กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ที่สหรัฐฯ คาดว่า มีความชัดเจนในกลางปี 64 และหากบริษัทฯ ยังไม่สามารถหาพันธมิตรร่วมทุนได้ บริษัทฯก็ยังไม่มีการลงทุนโครงการปิโตรเคมี คอมเพล็กซ์ เพราะไม่ต้องการลงทุนโครงการนี้เพียงผู้เดียว เนื่องจากเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงประมาณ 2 แสนกว่าล้านบาท ขณะที่แผนลงทุนซื้อกิจการ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการเจรจาหลายโครงการในต่างประเทศ ซึ่งจะเน้นเข้าซื้อกิจการในโครงการที่จีซี ยังไม่มีสายการผลิต เช่น โรงงานเม็ดพลาสติกวิศวกรรมประเภทพีพีคอมพาวด์ ซึ่งจะพยายามลงทุนซื้อกิจการภายในปีหน้า



- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img