วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlightจับตา“ธุรกิจ EV” มาเร็วกว่าที่คิด หรือต้องรออีกกี่ปี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

จับตา“ธุรกิจ EV” มาเร็วกว่าที่คิด หรือต้องรออีกกี่ปี

อนาคตอันใกล้คงปฏิเสธไม่ได้ถ้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะมาแทนที่รถยนต์สันดาปภายใน โดยปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนได้มีการปรับตัวทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง และได้เปิดตัวธุรกิจ EV กันมากขึ้น ทั้งผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งเตรียมแผนขยายการลงทุนธุรกิจ EV ไว้ในระยะยาว

การส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐยังเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้เติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งภาครัฐต้องมีนโยบายการส่งเสริม และมีเป้าหมายที่ชัดเจน

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และในฐานะประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (บอร์ดกฟผ.)  กล่าวว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2553 – 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคาดว่าในปี 2568 ราคารถยนต์ EV จะเท่ากับราคารถยนต์สันดาปภายใน และในปี 2583 จะมีรถยนต์ EV มากว่ารถยนต์สันดาปภายใน หรือคาดว่าจะมีรถยนต์ EV ราว 4.5 ล้านคัน จากปัจจุบันมีรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอินราว 180,000 ที่จดทะเบียนในประเทศไทยโดยในจำนวนนี้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า 100% ราว 5,600 คัน

ขณะที่แผนการส่งเสริมรถยนต์ EV ในประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ กำหนดเป้าหมยปี 2573 จะมีการผลิตรถยนต์ EV 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดหรือคิดเป็นประมาณ 750,000 คัน

ทั้งนี้การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติในช่วงปลายเดือน มีนาคม 2564 จะมีการพิจารณากำหนดแนวทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจนมากขึ้นอีกครั้ง โดยอาจจะนำเอาข้อเสนอของภาคเอกชนที่เสนอให้ปรับเป้าหมายปี 2573 จะมีการผลิตรถยนต์ EV เป็น 50% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้การส่งเสริมการใช้รถยนต์ EV นั้นยังเป็นการตอบโจทย์การก้าวสู่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์เป็นศูนย์ (Carbon neutrality)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า ช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา (2562-2563) ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้แบตเตอร์รี 100% ในประเทศไทยเริ่มเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยในปี 2562 มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าราว 802 คัน และในปี 2563 เพิ่มขึ้นเป็น 2,079 คัน ซึ่งเป็นสัญญาณการเติบโตที่ดีขึ้น

ขณะที่ปี 2564 คาดว่าจะมียอดขายอยู่ในระดับ 6,000 – 8,000 คัน เนื่องจากค่ายรถยนต์หลายค่ายเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายกันหลายรุ่น ราคาถูกลง ซึ่งเฉลี่ยอยู่ในระดับ 1 ล้านบาท ถึง 1.5 ล้านบาท ขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนก็ได้มีการลงทุนขยายสถานีชาร์จเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีการชาร์จก็เร็วขึ้นจึงสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภคหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ส่วนในระยะ 5 ปี ( 2564 – 2568) คาดว่า จะมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นราว 20,000 คัน โดยมองว่าในอนาคตราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลง สถานีชาร์จไฟฟ้าจะมีเพิ่มมากขึ้นกระจายในต่างจังหวัด และตามห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล แต่การเติบโตก็ขึ้นอยู่กับการส่งเสริมของภาครัฐด้วย รัฐบาลต้องรีบผลักดันนโยบายการส่งเสริม และกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะมีนโยบายส่งเสริมอย่างไร และมีเป้าหมายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างไร ขณะเดียวกันก็ต้องมีการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่เป็นการนำเข้ากว่า 90%

ด้านนายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.ได้ขยายการลงทุนธุรกิจใหม่ของ กฟผ. “EGAT EV Business Solutions” จะเป็นการตอบโจทย์ความต้องการใช้รถยนต์ EV ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และเป็นการลดตอบโจทย์ประเทศไทยการก้าวสู่การปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์เป็นศูนย์ โดยเปิดตัว 4 ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 

1.สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” ที่ชาร์จไฟ ปัจจุบัน กฟผ. ได้ติดตั้งไปแล้ว 13 สถานี และตั้งเป้าหมายที่จะติดตั้งเพิ่มอีก 35 สถานีเป็น 48 สถานี ภายในสิ้นปี 2564 โดยเน้นขยายสถานีไปตามเส้นทางการเดินทางหลักทั่วประเทศ เพื่อเลือกพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานและตรงกับตามต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด 2.Mobile Application Platform “EleXA” ซึ่งทั้งสถานีชาร์จฯ และแอพลิเคชั่นจะดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในไตรมาส 2/2564

3.ตู้อัดประจุไฟฟ้า “EGAT Wallbox และEGAT DC Quick Charger” เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกแก่ผู้ใช้งานรถ EV โดย EGAT Wallbox เป็น Home Charger ที่เล็กกะทัดรัด ซึ่ง กฟผ.ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทย ในการเป็นผู้ดูแลให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษาให้แก่ลูกค้าโดยตรง และในปัจจุบัน กฟผ. ได้พัฒนาตู้อัดประจุไฟฟ้า EGAT DC Quick Charger ขนาด 120 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้

โดย กฟผ. จะนำผลิตภัณฑ์นี้ออกใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาส 3/2564  และ 4.ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform” คาดว่าจะเปิดบริการเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 3/2564

โดยการดำเนินธุรกิจ EGAT EV Business Solutions จะดำเนินงานภายใต้บริษัท อีแกท อินโนเวชั่น โฮลดิ้งส์ คัมปานีส์ จำกัด กฟผ.ถือหุ้นในสัดส่วน 40% บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ถือหุ้น 30% และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ถือหุ้นในสัดส่วน 30% เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นในการขยายการลงทุนในธุรกิจ EV

นายวฤต รัตนชื่น ผู้อำนวยการฝ่ายแผนยุทธศาตร์ กฟผ. กล่าวว่า คาดว่าจะเริ่มดำเนินการคิดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ EV ที่มาใช้บริการในสถานีอัดประจุไฟฟ้าของ กฟผ. เริ่มตั้งแต่เดือน เมษายน 2564 โดยจะกำหนดเป็นราคาโปรโมชั่นก่อน จะกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจริงคาดว่าจะอยู่ที่ 7-8 บาทต่อหน่วย หรือคิดเป็นต้นทุนค่าเชื้อเพลิงอยู่ในระดับ 1.30 บาทต่อกิโลเมตร ซึ่งถูกกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง จากการเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1.6 – 1.8 ซีซี และใช้น้ำมัน E20 มีต้นทุนเชื้อเพลิง 2 บาทต่อกิโลเมตร

ขณะที่อัตราค่าไฟฟ้าขายส่งจะอยู่ที่ 2.63 บาทต่อหน่วยตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนด ซึ่งผู้ที่ลงทุนสถานีชาร์จไฟฟ้าจะต้องซื้อไฟจากการไฟฟ้าในราคานี้ แล้วจะคิดราคาค่าไฟจากผู้ใช้รถยนต์ในราคาเท่าไหร่นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทจะกำหนดเลตอัตราขึ้นมาเอง โดยคำนึกถึงต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ และต้นทุนหัวชาร์จ เนื่องจาก กกพ.ยังไม่ได้กำหนดราคาขายปลีก

นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ EV บริษัทได้วางแผนกลยุทธ์และการลงทุนของกลุ่ม EA เพื่อสร้าง New S-Curve ตลอดช่วงกว่า 4 ปีที่ผ่านมา จะเริ่มเห็นสะท้อนผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมและสร้างผลประกอบการอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป

โดยล่าสุดโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเที่ยมไอออนเฟสแรกขนาดกำลังการผลิต 1 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี (GWh) คาดว่าจะสามารถเริ่มทำการผลิตได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 ขณะที่โรงงานประกอบรถบัสโดยสารไฟฟ้าและรถขนาดใหญ่ก็จะเริ่มทำการผลิตและส่งมอบได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 นี้เช่นกัน โดยปัจจุบันมีสัญญาคำสั่งซื้อรถบัสไฟฟ้าราว 400 – 500 คัน คาดว่าจะเริ่มทยอยส่งมอบให้กับลูกค้าได้ในปีนี้ ส่วนโครงการเรือโดยสารไฟฟ้า MINE Smart Ferry ที่เปิดให้บริการทดลองวิ่งฟรีอยู่จนถึงช่วงกลางเดือนมีนาคมนี้ ก็พร้อมเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบได้ในช่วงกลางปีนี้อีกด้วย

นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า การลงทุนในธุรกิจติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station ในปี 2564 มีแผนขยายลงทุนเพิ่มอีก 100 สาขา กระจายทั่วประเทศบริเวณหัวเมืองหลักในแต่ละจังหวัดตั้งแต่ภาคเหนือลงสู่ภาคใต้ ในรูปแบบชาร์จเร่งด่วน Quick Charge ซึ่งจะใช้เวลาชาร์จประมาณ 20-25 นาทีต่อคัน 

คาดว่าจะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ล้านบาทต่อสาขา และจะขยายเพิ่มขึ้นเป็น 300 สาขาภายในปี 2565 จากปัจจุบัน มีการติดตั้งแล้ว 30 สาขา ทั้งในรูปแบบของหัวชาร์จปกติ Normal Charge และ Quick Charge เพื่อรองรับการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้า(EV) รวมทั้งได้มีการจัดทำ Application ‘EV Station’ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคอย่างครบวงจร

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img