วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlight‘Circular Economy’ การหมุนเวียนทรัพยากร เพื่อให้โลกก้าวไปข้างหน้า
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘Circular Economy’ การหมุนเวียนทรัพยากร เพื่อให้โลกก้าวไปข้างหน้า

ในปี 2593 ประชากรทั่วโลกจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นถึง 9 พันล้านคน! ตัวเลขอันน่าตกใจนี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้น และแน่นอนว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดบนโลกใบนี้ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป ทำให้คิดว่า หากเรายังดำเนินชีวิตหรือดำเนินธุรกิจต่อไปในวงจรแบบเดิมๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้กระทบเพียงแค่ยุคสมัยนี้ แต่ยังกระทบต่อไปยังผู้คนในรุ่นลูกหลานอีกด้วย

Circular Economy คือทางออก

แนวคิด Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่มีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจึงเกิดขึ้น ด้วยการนำขยะมาเปลี่ยนเป็นทรัพยากรสำหรับการผลิตอีกครั้ง ลดการเกิดของเสีย ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และหมุนเวียนอยู่ในระบบให้นานที่สุด โดยใช้ทั้งนวัตกรรม เทคโนโลยี และการร่วมมือ ในการควบคุมกระบวนการทุกขั้นตอน เพื่อจัดการกับความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์เชิงบวกต่อสังคมในระยะยาว

Circular Economy กับการลงมือทำให้เกิดผลลัพธ์

แท้จริงแล้ว เศรษฐกิจหมุนเวียนไม่ได้เป็นแนวคิดใหม่ แต่เป็นการผสมผสานแนวคิดในการบริหารจัดการธุรกิจตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 จนถึงปัจจุบัน โดยมูลนิธิเอเลน แมค อาร์เธอร์ (Ellen MacArthur Foundation: EMF) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนไปทั่วโลก ผ่านการเสนอแนวคิด วัฏจักรทางชีวภาพ (Biological Cycle) หรือการนำทรัพยากรมาใช้ใหม่ตามสภาพ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้ทำเป็นปุ๋ย การสกัดสารเคมีชีวภาพ การหมักย่อยแบบไร้อากาศ การผลิตก๊าซชีวภาพ และการสร้างทรัพยากรทดแทน ส่วน วัฏจักรทางเทคนิค (Technical Cycle) หรือการนำทรัพยากรมาจัดการให้เกิดเป็นวัตถุดิบใหม่ที่มีคุณค่า โดยไม่ถูกทิ้งเป็นของเสียนั้น ก็เพื่อให้เกิดการรั่วไหลของวัสดุเหล่านั้นไปนอกระบบให้น้อยที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด

เศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่เพียงแต่เป็นแนวคิดที่ได้การยอมรับเท่านั้น แต่ในเชิงปฏิบัติ ยังช่วยให้การออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกและลดผลกระทบเชิงลบอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรสามารถค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยายความร่วมมือและลดต้นทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างกำไรที่มากขึ้น และที่สำคัญคือ การลดของเสีย เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ยิ่งองค์กรนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งยกระดับการแข่งขันทางธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ และต่อยอดการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

Circular Economy กับ GC ในฐานะภาคธุรกิจที่นำมาปรับใช้

GC มีความเชื่อว่า เศรษฐกิจหมุนเวียน สามารถสร้างประโยชน์อย่างมากต่อการจ้างงาน การผลิต และการเงิน ซึ่งต่อยอดสู่การเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทุกกระบวนการ จึงมีการบูรณาการนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ร่วมกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในมิติที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งวัฏจักรทางชีวภาพและเทคนิค ตั้งแต่การออกแบบ การเลือกใช้วัตถุดิบ กระบวนการการผลิต การนำกลับมาใช้ใหม่ บวกกับการสร้างเครือข่าย และกำหนดเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดระบบนิเวศทางธุรกิจ สร้างพลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

วันนี้ GC ได้นำแนวคิด เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาปรับใช้ โดยเน้นการขับเคลื่อน 3 เรื่อง คือ

1.Smart Operating ยกระดับการบริหารและดำเนินงานอย่างยั่งยืน สร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ด้วยการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า เกิดของเสียในกระบวนการทำงานน้อยที่สุด นำเทคโนโลยีแบบใหม่มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2.Responsible Caring การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน โดยคิดค้น พัฒนา ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดและใช้งานยาวนานมากที่สุด เช่น ไบโอพลาสติกหรือพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ อาคารที่ออกแบบหรือก่อสร้างโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง หรือใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่มีความคงทนแข็งแรง

3.Loop Connecting การเชื่อมโยงทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย และเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร โดยขยายความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ นำคนที่มีแนวคิดและต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืน เข้ามาบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน และเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจร สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น โครงการเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า โดย GC สนับสนุนในด้านการจัดการขยะ ร่วมกับวัดจากแดงในการผลิตจีวรจากพลาสติกรีไซเคิล

โครงการความร่วมมือลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว จากบริการส่งอาหาร (Food delivery) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกลุ่มธุรกิจบริการส่งอาหาร โครงการต้นแบบการบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจรในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับประเทศ

ซึ่ง GC ทำร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช “โครงการพลาสติก (คืน) สุข” ที่ GC จับมือกับ OR เพื่อตั้งจุดรับ (Drop Point) พลาสติกใช้แล้วที่ผ่านการทำความสะอาดมาระดับหนึ่ง โดยข้อตกลงจะเริ่มจากพื้นที่ทดลองในเขตกรุงเทพมหานคร และมีแผนจะขยายสู่สถานีบริการน้ำมัน PTT Station ทั่วประเทศต่อไป นอกจากนี้ ล่าสุดยังร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เดินหน้าต่อยอดแพลตฟอร์มการจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร ด้วย Chemical Recycling สร้างระบบการคัดแยกขยะพลาสติก

สุดท้ายแล้ว Circular Economy จะเกิดขึ้นได้อย่างสำเร็จและสมบูรณ์แบบ อาจไม่ใช่การลงมือทำของ GC เพียงแค่องค์กรเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันในทุกๆ ภาคส่วน โดยเฉพาะการร่วมมือกันของเราทุกคน ไม่ว่าจะทำอาชีพไหนหรือมีบทบาทใดในสังคม ล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วมในการทำให้แนวคิด Circular Economy พัฒนาไปสู่ Circular Living ซึ่งผสานการใช้ชีวิตเข้าไปด้วย สร้าง Loop Connecting ที่สามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้และลงมือทำได้จริงต่อไป

#GC #GCChemistryForBetterLiving #CircularLiving #GCCircularLiving #CircularLivingStation

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img