วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกNEWS"ปชป." ไ่ม่ทนงัดข้อ "บิ๊กรบ.-ส.ส.บางคน" กลับไปกลับมากลัวแพ้ กลายเป็นสภาโจ้ก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชป.” ไ่ม่ทนงัดข้อ “บิ๊กรบ.-ส.ส.บางคน” กลับไปกลับมากลัวแพ้ กลายเป็นสภาโจ้ก

“ชัยชนะ” อัด “บิ๊กรัฐบาล – ส.ส.บางคน” กลัวแพ้หันกลับไปใช้บัตรใบเดียวมัดมือชก หวั่นทำให้รัฐสภาไทยกลายเป็น “สภาโจ๊ก” หมดความน่าเชื่อจากปชช. จี้เดินหน้าใช้บัตร 2 ใบ หาร 500 ชี้ทุกฝ่ายเริ่มมีความเข้าใจแล้ว

วันที่ 29 ก.ค.65 นายชัยชนะ เดชเดโช ส.ส.นครศรีธรรมราช และรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการคิดกติกาในการเลือกตั้งสมาชิกสาผู้แทนราษฎร เพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมืองว่า ในการพิจารณาร่วมกันของสมาชิกรัฐสภาที่ผ่านมา ก็เป็นที่เข้าใจของประชาชนทั่วไปเรียบร้อยแล้วว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปที่คาดว่าจะมีขึ้นในปี 2566 นั้น จะมี ส.ส. 2 ประเภท คือ ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เบอร์ผู้สมัคร ส.ส.เขต และบัญชีรายชื่อ จะไม่ใช้เบอร์เดียวกัน รวมทั้ง วิธีการได้มาซึ่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ สมาชิกรัฐสภา ก็ได้คล้อยตามสิ่งที่ น.พ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ได้อภิปรายแสดงเหตุผลต่อที่ประชุมก็คือ การใช้จำนวน ส.ส.ทั้งหมดในสภา คือ 500 คน นำไปหารคะแนนเสียงทั้งหมดในการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ก็จะได้ค่าเฉลี่ยของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ซึ่งเหลือเพียงรายละเอียดที่จะต้องแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการดังกล่าวเท่านั้น ซึ่งคาดว่า จะสามารถครบกำหนดตามที่วางไว้คือวันที่ 15 ส.ค.นี้ แต่ปรากฏว่า มีความเคลื่อนไหวของแกนนำรัฐบาลและ ส.ส.บางรายที่เห็นว่า หากจะเดินตามสูตรที่กำลังพิจารณาในขณะนี้ อาจจะทำให้ตัวเองหมดโอกาสกลับเข้าไปทำหน้าที่ ส.ส. ในสมัยหน้า จึงได้มีการเสนอให้กลับไปใช้วิธีการเดิมที่ใช้กันมาในการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 นั่นก็คือ บัตรใบเดียวที่มัดมือชกเลือกทั้งเขตและบัญชีรายชื่อ และวิธีคิดคำนวณที่พิสดาร ซึ่งไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ทำให้เกิดข้อสงสัยเป็นอย่างมาก แต่กลับมีความเคลื่อนไหวที่จะปัดฝุ่นนำวิธีการนี้มาเพื่อสร้างความได้เปรียบกับตัวเอง ท่ามกลางความงุนงงสงสัยของประชาชนที่มองว่า สภาชุดนี้กำลังจะกลายเป็นสภาโจ๊ก เพราะกลับไปกลับมาเอาแน่เอานอนไม่ได้

นายชัยชนะ กล่าวว่า ในเมื่อขณะนี้การแก้ไขพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่..) พ.ศ. …. .ใกล้มาถึงขั้นพิจารณาในวาระสามแล้ว จึงควรที่จะให้มีการลงมติพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อน เพราะยังมีขั้นตอนตามรัฐธรรมนูญฯ ที่จะต้องให้รัฐสภาส่งร่าง พ.ร.ป. ที่เห็นชอบแล้วนั้น นั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็นต่อไปภายใน 10 วัน นับตั้งแต่รับเรื่อง ซึ่งหากไม่มีการทักท้วง ก็ให้รัฐสภาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้ง ยังมีช่องทางการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความอีกด้วย ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า สิ่งที่สมาชิกรัฐสภาได้ดำเนินการมาทั้งหมดขัดกับรัฐธรรมนูญนั้น รัฐสภาก็ต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยและเร่งรีบดำเนินการพิจารณาให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการเลือกตั้งตามกำหนดเวลาที่จะต้องไม่เกินเดือนพฤษภาคม 2566 เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรที่จะสร้างความสับสนให้กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เพียงเพื่อเอาชนะในทางการเมืองเท่านั้น

“ผมเห็นว่า กระบวนการที่รัฐสภา ดำเนินการไปนั้น เป็นที่รับรู้ของประชาชนทั่วไปกันหมดแล้ว ดังนั้นแกนนำรัฐบาลและ ส.ส. ที่มีความกลัวว่าจะสอบตกนั้น ไม่ควรที่จะพลิกแพลงหาวิธีการพิสดารพันลึกใดๆ ให้ได้รับชัยชนะหรือเพียงเพื่อให้ตัวเองกลับมาเท่านั้น เพราะในที่สุด ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจในคูหาเลือกตั้งว่า จะให้ใครเป็น ส.ส.ดูแลทุกข์สุขของประชาชนภายในเขต และจะให้พรรคการเมืองใดเป็นแกนหลักในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศ ซึ่งการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ถึงขั้นจะกลับไปแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ คือการใช้บัตรใบเดียวตอบคำถาม 2 ข้อ เพียงเพื่อสนองความต้องการตัวเองนั้น นอกจากจะเป็นการ แกงหม้อใหญ่ ให้กับหลายๆ ฝ่ายแล้ว ประชาชนก็มองรัฐสภาชุดนี้เป็น ‘สภาโจ๊ก’ ไปด้วย เพราะท่าที่แบบกลับไปกลับมา เอาความแน่นอนและหาสาระอะไรไม่ได้ ส่งผลให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดีในสายตาของประชาชนอีกด้วย” นายชัยชนะกล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img