วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเสพติด“ประชานิยม” ไทยเสี่ยงสูงไร้ยั่งยืน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เสพติด“ประชานิยม” ไทยเสี่ยงสูงไร้ยั่งยืน

บรรดาอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ “แบงก์ชาติ” ต่างออกมาถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานในแต่ละยุคแต่ละสมัย ในงานเสวนา “เหลียวหลังแลหน้า กับผู้ว่าการธปท.” ในโอกาสครบรอบ 80 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้!!ทั้งนั้น!! ก็เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานในแต่ละช่วง ที่ต้องผจญกับสารพัดปัญหาเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการเสนอมุมมองการพัฒนาเศรษฐกิจไปในระยะข้างหน้า โดยมีความคาดหวังให้ผู้นำและผู้บริหารประเทศ หยิบฉวยข้อมูลไปใช้ หรือเป็นแนวทาง หรือเป็นประโยชน์ในการแก้ไขสารพัดปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้

หนึ่งในมุมมองที่น่าสนใจ…คือ เรื่องราวการขาดดุลงบประมาณติดต่อกันมานานนับสิบปี ที่ถูกตั้งข้อสังเกตโดย “ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์” อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติธปท. ในช่วง 31 ก.ค.2540-4 พ.ค.2541

โดยย้ำว่า เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงในระยะข้างหน้า เพราะภาระหนี้ยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งที่ในอดีต มักพูดกันถึงฐานะการคลังที่ยั่งยืน เมื่อมีการขาดดุลมากก็ต้องแก้ไข

แต่ตอนนี้ รัฐบาลได้ออกนโยบายสารพัด จนทำให้คนเชื่อว่า “ประชานิยม” เป็นเรื่องธรรมดา!!

ดร.ชัยวัฒน์ ชี้ให้เห็นว่า ทุกวันนี้ฐานะการคลังของไทยได้ซ่อนปัญหาระยะยาวไว้จำนวนมาก เมื่อภาคการคลังดูแลไม่สามารถดูแลได้ดีกว่านี้ ภาระจึงตกมาอยู่ที่นโยบายการเงิน

ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์

การส่งสาส์นของในครั้งนี้ น่าสนใจไม่น้อย แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว การดำเนินนโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน ต้องเดินหน้าคู่ขนานกันไปอย่างมีสเถียรภาพ เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจปักหัวลงพื้นก็ตาม

ด้วยฐานะประเทศที่ง่อนแง่น เพราะต้องใช้เงินดูแลเศรษฐกิจ ขณะที่รายได้ที่หาได้ ก็ไม่เข้าเป้า เพราะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจโลก จึงต้องมีการกู้เงินมาดูแล ทำให้ภาระการคลังเพิ่มขึ้น

แต่ภาระการคลังที่หนักอึ้งเช่นนี้ ถือว่า “เสี่ยงสูง” !! เพราะที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหน ต่างจัดทำนโยบาย “ประชานิยม” ในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยกันทั้งนั้น เพื่อ “ซื้อใจ” ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ

แม้ว่าในเชิงเศรษฐกิจแล้วการทำ “ประชานิยม” แต่ละครั้งก็เพื่อเพิ่มกำลังซื้อ เพิ่มกำลังใช้จ่าย ให้การบริโภคในประเทศ เป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

แต่ที่น่าสนใจ!! อยู่ที่ว่า…การออกนโยบายของรัฐบาล มักเป็นแบบ “ไฟไหม้ฟาง” เพราะส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งลดแลกแจกแถม ไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวม


เรื่องนี้…ถูกสำทับให้เห็นจากมุมมองของ “คุณชายอุ๋ย-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล” อดีตผู้ว่าการธปท.ในช่วง 31 พ.ค.2544-6 ต.ค.2549 ที่บอกว่า นโยบายการคลังขณะนี้ เหมือนไม่มีนโยบาย มีแต่ใช้เงินไปเรื่อย ๆ ไม่ได้คิดว่าจะขาดดุลเท่าใด แล้วจะขาดดุลในน้ำหนักใด ถึงจะเพียงพอ

ไม่ใช่แค่นี้!! ปัญหาในเวลานี้ คือ การดำเนินนโยบายการคลังไม่เป็นไปอย่างที่สมควร ถ้าดำเนินนโยบายการคลังอย่างที่ควร แล้วนโยบายการเงินเข้าไปช่วยสนับสนุน ก็จะหมดปัญหาไป ทั้งหมดจึงอยู่ที่ “ผู้นำรัฐบาล” ที่จะคิดเรื่องนี้หรือไม่คิด

จากมุมมองของ “2 อดีตผู้ว่าธปท.” ที่เน้นย้ำในเรื่องของการขาดดุลงบประมาณ น่าจะเป็นอีกหนึ่งสัญญาณ ที่รัฐบาลต้องรับฟังและชั่งใจให้ตระหนัก

เพราะ…ในปีงบประมาณ 64 รัฐบาลปิดหีบรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายกว่า 3 แสนล้านบาท หรือต่ำกว่า 11.5% ทีเดียว ด้วยมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

ขณะที่รัฐบาลเองก็มีความจำเป็น ต้องดำเนินนโยบายด้านการคลังและภาษี เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่อง และบรรเทาภาระให้ประชาชนและผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลต่ำกว่าเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 65 (ต.ค.64-ก.พ.65) ถือว่า ฐานะการคลังยังดีอยู่มาก เพราะยังจัดเก็บรายได้เกินเป้าหมายกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท หรือเกินเป้าหมาย 5.4% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 7%

ขณะที่มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณแล้วกว่า 3.94 แสนล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนก.พ.อยู่ที่ 4.18 แสนล้านบาท

ส่วนหนี้สาธารณะ ณ วันที่ 28 ก.พ.65 ไทยมีหนี้สาธารณะกว่า 9.82 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 60.17% ต่อจีดีพี แบ่งเป็นหนี้ในประเทศกว่า 98.22% และหนี้ต่างประเทศอีก 1.78%

ขณะที่หนี้ครัวเรือนไทย ในปี 64 มีมากถึง 14.58 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 90.1% ต่อจีดีพี ทีเดียว แม้ว่าจะเป็นเพราะเศรษฐกิจที่เติบโตช้า จึงทำให้สัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นก็ตาม

ทั้งหลายทั้งปวง…น่าจะเป็นข้อมูลที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงอย่างที่สุด ในเวลานี้!!

…………..

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img