วันอังคาร, มีนาคม 19, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“เซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง” นวัตกรรมแห่งความหวัง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง” นวัตกรรมแห่งความหวัง

Thin – Film Solar Cell

…เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบฟิล์มบาง คือ นวัตกรรมแห่งความหวังของอนาคตในภาพรวมอุตสาห กรรม Solar PV สำหรับความมั่นคงทางพลังงานด้วยแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็น Solar Energy & Solar Power ไปสู่สังคม ชุมชน ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป ..

แผงโซลาร์เซลล์แบบยืดหยุ่น Flexible Solar Panels” หรือ “แผงโซลาร์เซลล์แบบติดแปะ Stick – On Solar Panels” ทั้งสองรูปแบบภายใต้กรอบนิยามกว้างของแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบฟิล์มบาง Thin – Film Solar Cell Panels ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเซลล์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อในเรื่อง การโค้งงอได้ ม้วนได้ พับได้ มันบางเฉียบ บางชนิดโปร่งแสง และน้ำหนักเบากว่ามาก เมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบเดิม .. แผงโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบาง ประกอบด้วยชั้นที่ผลิตกำลังไฟฟ้าซึ่งบางกว่าเซลล์ไฟฟ้าซิลิคอนทั่วไปหลายร้อยเท่า ..

เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin – Film Solar Cell เป็นเซลล์แสงอาทิตย์รุ่นที่สองที่สร้างขึ้นโดยการเคลือบชั้นบาง ๆ หรือฟิล์มบาง TF ของวัสดุเซลล์แสงอาทิตย์บนพื้นผิว เช่น แก้ว พลาสติก หรือโลหะ .. ทั้งนี้ เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง มีการใช้งานในเชิงพาณิชย์ด้วยเทคโนโลยีหลายอย่าง รวมถึง แคดเมียม เทลลูไรด์ Cadmium Telluride : CdTe, คอปเปอร์ อินเดียม แกลเลียม ไดเซเลไนด์ Copper Indium Gallium Diselenide : CIGS และอสัณฐานของซิลิกอนฟิล์มบาง Amorphous Thin – Film Silicon : a – Si, TF – Si ..

Final Installation & Layout of Uni – Solar Ovonic’s Thin Film Flexible Solar PV Panels | Credit: Ken Fields / Wikipedia

ความหนาของฟิล์มแตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่กี่นาโนเมตร nm ไปจนถึงหลายสิบไมโครเมตร µm ซึ่งบางกว่าเทคโนโลยีที่เป็นคู่แข่งของฟิล์มบางอย่างมาก ซึ่งก็คือ เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน Crystalline Silicon Solar Cell : c – Si รุ่นแรก ซึ่งใช้เวเฟอร์ Wafers บางมากแล้ว แต่ก็ยังหนาอยู่ถึง 200 µm .. เซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบางปัจจุบัน มีความยืดหยุ่น ทนทาน และน้ำหนักเบาลงอย่างมาก มันถูกใช้ในแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบบูรณาการในอาคาร บนผิวถนน และเป็นวัสดุกระจกกึ่งโปร่งแสงที่สามารถเคลือบบนหน้าต่างได้ การใช้งานเชิงพาณิชย์อื่น ๆ หรือการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางแบบแข็ง แทรกระหว่างกระจกสองบาน รวมทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่สุดในโลกหลายแห่ง ก็นิยมใช้มันอีกด้วย

โดยปกติ เทคโนโลยีฟิล์มบาง Thin – Film Technology จะมีราคาถูกกว่า แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเทคโนโลยี c – Si ทั่วไป .. อย่างไรก็ตาม มีการปรับปรุงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบฟิล์มบาง ในห้องปฏิบัติการสำหรับ CdTe และ CIGS ได้ประสิทธิภาพมากกว่า 21 % ซึ่งเหนือกว่าผลึกหลายชั้นของซิลิกอน Multicrystalline Silicon อันเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ปัจจุบัน การทดสอบอายุการใช้งานโมดูลเซลล์ไฟฟ้าฟิล์มบางแบบเร่งความเร็วภายใต้สภาวะในห้องปฏิบัติการ พบการเสื่อมสภาพที่เร็วกว่า เมื่อเทียบกับ PV ทั่วไป .. ในขณะที่โดยทั่วไป คาดว่า จะมีอายุการใช้งาน 20 ปี หรือมากกว่า แม้จะมีการปรับปรุงสิ่งเหล่านี้แล้วก็ตาม แต่ส่วนแบ่งการตลาดของเซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบางไม่เคยสูงถึง 20 % ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเป็นประมาณ 9 % ของการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกในปี 2556 ..

อย่างไรก็ตาม ตลาดได้ Rebound กลับมา และตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป คาดว่า ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง กำลังเติบโตขึ้นกว่าที่ผ่านมาด้วยสัดส่วนทะลุ 20 % ของตลาด Solar PV ได้ เนื่องจาก เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบฟิล์มบาง คือ นวัตกรรมแห่งความหวังของอนาคตในภาพรวมอุตสาหกรรม Solar PV สำหรับความมั่นคงทางพลังงานด้วยแหล่งพลังงานทางเลือกที่เป็น Solar Energy & Solar Power ไปสู่สังคม ชุมชน ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป ..

เทคโนโลยีฟิล์มบางอื่น ๆ ที่ยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการวิจัยอย่างต่อเนื่อง .. ความพร้อมในเชิงพาณิชย์ ถือว่ายังมีอยู่อย่างจำกัด รุ่นล่าสุดถูกจัดประเภทเป็นเซลล์สุริยะรุ่นใหม่ หรือรุ่นที่สาม รวมถึง สารอินทรีย์ Organic , สารไวแสง Dye – Sensitized เช่นเดียวกับ Quantum Dot Solar Cell , คอปเปอร์ ซิงค์ ทิน ซัลไฟด์ Copper Zinc Tin Sulfide , นาโนคริสตัล Nanocrystal , ไมโครมอร์ฟ Micromorph และโซลาร์เซลล์ Perovskite หรือ Perovskite Solar Cells ซึ่งอาจกำลังเป็นที่นิยม และทำตลาดได้แพร่หลายเพิ่มขึ้นมากในอีกไม่นาน เป็นต้น ..

เซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบบูรณาการในอาคาร ..

เซลล์แสงอาทิตย์แบบบูรณาการในอาคาร Building – Integrated Photovoltaics : BIPV เป็นวัสดุเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แทนวัสดุก่อสร้างทั่วไปในส่วนของเปลือกอาคาร เช่น หลังคา หน้าต่างกระจก สกายไลท์ หรือส่วนหน้า พวกมันกำลังถูกรวมเข้ากับการก่อสร้างอาคารสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลัก หรือพลังงานเสริม แม้ว่าอาคารที่มีอยู่อาจได้รับการปรับปรุงใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน ข้อได้เปรียบของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบบูรณาการเหนือกว่าอาคารที่ไม่ได้รวมระบบพลังงานไว้ คือ ความสามารถชดเชยต้นทุนเริ่มต้นได้โดยการลดจำนวนเงินที่ใช้ไปกับวัสดุก่อสร้าง และแรงงานที่ปกติแล้วจะใช้เพื่อสร้างส่วนของอาคารที่โมดูล BIPV แทนที่ .. ข้อได้เปรียบเหล่านี้ทำให้ BIPV เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ที่เติบโตเร็วที่สุด ..

SmartSkin: The Power Window, the transparency of Onyx’s windows electricity generating capacity: 8 – 10 watt / m2 | Credit : Delft Technical University/Physee

คำว่า Building – Applied Photovoltaics : BAPV บางครั้งใช้เพื่ออ้างถึง Photovoltaics ที่เป็น Retrofit ซึ่งรวมประกอบเข้ากับอาคาร หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น .. อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิต และผู้สร้างบางรายใช้ BIPV สำหรับก่อสร้างอาคารรูปแบบใหม่ ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ .. ทั้งนี้ หน้าต่างโฟโตโวลตาอิก Photovoltaic Windows ที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin – Film Solar Cell เป็นโมดูลกึ่งโปร่งใส เช่น Perovskite Solar Cells หรือ Smart Windows สามารถใช้แทนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมหลายรายการ ซึ่งมักทำด้วยแก้ว หรือวัสดุที่คล้ายกัน เช่น หน้าต่าง ประตู และสกายไลท์ ..Thin – Film Solar Cell โมดูลกึ่งโปร่งใส ได้แสดงบทบาทนำสำหรับอาคารสมัยใหม่ นอกจากมันจะผลิตกำลังไฟฟ้าได้แล้ว มันยังทำให้เกิดการประหยัดพลังงานได้อย่างมากอีกด้วย เนื่องจากคุณสมบัติของการเป็นฉนวนความร้อนที่เหนือกว่า และการควบคุมการแผ่รังสีจากแสงอาทิตย์ ..

นอกจากการใช้วัสดุ PV มาแทนที่วัสดุมุงหลังคา หรือในบางกรณี ตัวหลังคาเอง อาจกลายเป็นหลังคาพลัง งานแสงอาทิตย์ชิ้นเดียวแบบบูรณาการที่ทำด้วยกระจกลามิเนต บางแห่งเสนอผลิตภัณฑ์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์รุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสามารถติดตั้งแทนแผ่นหลังคายางปกติ Shingle Roof ได้ .. อย่างไรก็ตาม การประ ยุกต์ใช้แบบบูรณาการในอาคารนั้น ยังมีอีกหลายรูปแบบ เช่น Powerwall, Solar Window, Smart Windows & Smart Skin .. เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin – Film Solar Cell Technology กำลังกลายเป็นหนึ่งในคำตอบทางเทคโนโลยีแหล่งพลังงานสะอาดที่น่าสนใจ และพอเพียงในตัวเอง Self Sufficient สำหรับงานก่อสร้างอาคารในปัจจุบัน และอนาคต ..

ตัวอย่างเช่น Facade – PV .. มันสามารถรวม PV เข้ากับด้านข้างของอาคาร แทนที่หน้าต่างกระจกแบบเดิมด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางกึ่งโปร่งแสง หรือแบบผลึก พื้นผิวเหล่านี้ มีการเข้าถึงแสงแดดโดยตรงน้อยกว่าระบบบนชั้นดาดฟ้า แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีพื้นที่ว่างที่ใหญ่กว่า ในการใช้งานติดตั้งเพิ่มเติม แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยังสามารถใช้เพื่ออำพรางภายนอกอาคารที่ไม่สวยงาม หรือเสื่อมโทรมได้อีกด้วย ..

นอกจากนี้ อะไรก็ตามที่เป็นเช่นกระจก เซลล์แสงอาทิตย์ที่บางเฉียบอาจใช้สร้างพื้นผิวกึ่งโปร่งแสง ซึ่งช่วยให้แสงส่องผ่านเข้ามา ในขณะเดียวกันก็ผลิตกำลังไฟฟ้าได้อย่างชาญฉลาด สิ่งเหล่านี้ มักใช้เพื่อสร้างสกายไลท์ PV หรือเรือนกระจก ..

Smart Glass: The transparency of ClearView | Photo Credit: Richard Lunt / Michigan State University

การออกแบบระบบ Building – Integrated Photovoltaics : BIPV จะต้องคำนึงถึงว่า อาคารนั้น ๆ ควรสามารถทำงานได้โดยไม่ขึ้นกับโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าทั้งหมดหรือไม่ เช่นเดียวกับ Microgrids ในระบบพลังงานแบบพอเพียงด้วยตัวมันเอง Self Sufficient Energy Systems ซึ่งต้องใช้ชุดแบตเตอรี่ หรือระบบจัดเก็บพลังงานในอาคาร หรือสถานที่อื่น ๆ .. โดยพิจารณาจากความต้องการพลังงานของอาคาร และข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง หรือความสวยงามที่อาจถูกจำกัดการเลือกวัสดุ แผงผลึกซิลิกอนที่ให้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าต่อตารางเมตร อาจมีต้นทุน และข้อจำกัดในการออกแบบที่สูงกว่า เซลล์แสงอาทิตย์วัสดุแผ่นฟิล์มบาง จะผลิตกำลังไฟฟ้าได้น้อยกว่าต่อตารางเมตร แต่มีราคาไม่แพง และอาจรวมเข้ากับพื้นผิวของอาคารได้มากขึ้น ..

ประเภทของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง ..

เซลล์แสงอาทิตย์แผ่นฟิล์มบางมีหลายประเภท สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุ และกระบวนการที่หลากหลาย .. อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางที่นิยมใช้งานเชิงพาณิชย์ มีอยู่ 4 ประเภทหลัก โดยแบ่งตามวัสดุที่ทำให้แผง PV เหล่านี้ แตกต่างไปจากตัวเลือกฟิล์มบางอื่น ๆ ได้แก่ Amorphous , แคดเมียม เทลลูไรด์ Cadmium Telluride : CdTe , คอปเปอร์ อินเดียม แกลเลียม ไดเซเลไนด์ Copper Gallium Indium Diselenide : CIGS และแผงเซลล์แสงอาทิตย์สารอินทรีย์ Organic Solar Panels

แผงเซลล์แสงอาทิตย์อสัณฐาน Amorphous Solar Panels .. เช่นเดียวกับแผงโซลาร์ทั่วไป แผงโซลาร์อสัณฐาน Amorphous Solar PV จะประกอบด้วยวัสดุซิลิกอนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสร้างขึ้นด้วยวัสดุเดียวกัน แต่ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการที่ต่างออกไป แทนที่จะใช้แผ่นเวเฟอร์ซิลิกอนที่เป็นของแข็ง เช่นที่ใช้กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบโมโน หรือโพลีคริสตัลไลน์ Mono or Poly – Crystalline Solar Panels .. ผู้ผลิต จะผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์อสัณฐาน Amorphous Solar Panels โดยการวางซิลิคอนที่ไม่ใช่ผลึกบนพื้นผิวทำด้วยแก้ว พลาสติก หรือโลหะ ซิลิคอนชั้นหนึ่งบนแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอสัณฐาน อาจบางเท่ากับเพียงหนึ่งไมโครเมตร  1 µm ซึ่งบางกว่าเส้นผมมนุษย์ ..

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อเสียบางประการสำหรับเทคโนโลยี Amorphous Solar Panels .. ความท้าทายหลัก คือประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิคอนทั่วไป .. เซลล์แสงอาทิตย์แบบ Amorphous มักจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง .. แผงโซลาร์ Amorphous ส่วนใหญ่ มีประสิทธิภาพประมาณ 7 % ในขณะที่แผงโซลาร์เซลล์โมโน หรือโพลีคริสตัลไลน์ Mono or Poly – Crystalline Solar Panels ในตลาดปัจจุบันสามารถให้ประสิทธิภาพมากกว่า 20 % ..

ทั้งนี้ แผงเซลล์แสงอาทิตย์อสัณฐาน มีข้อดีหลายประการเหนือแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบอื่น ๆ ประการหนึ่งได้แก่ มันไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุที่เป็นสารพิษจำนวนมากเพื่อสร้างแผงซิลิคอนอสัณฐาน .. นอกจากนี้ มันต้องการซิลิคอนน้อยกว่าแผงโซลาร์เซลล์ทั่วไปมาก รวมถึงแผงเซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบ Amorphous ยังสามารถดัดงอ โค้งงอได้ มันเหนียวกว่า และทนทานต่อการแตกร้าวมากกว่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์รูปแบบเดิมที่สร้างจากแผ่นเวเฟอร์ที่เป็นของแข็งของซิลิคอน Solid Wafers of Silicon ..

แผงเซลล์แสงอาทิตย์แคดเมียมเทลลูไรด์ Cadmium Telluride Solar Panels : CdTe เป็นเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่ใช้สำหรับการติดตั้งในปัจจุบัน แผงเซลล์แสงอาทิตย์เหล่านี้ ประกอบด้วยชั้นบาง ๆ หลายชั้น ชั้นที่ผลิตกำลังไฟฟ้าหลักหนึ่งชั้นที่ทำจากแคดเมียมเทลลูไรด์ผสม และชั้นโดยรอบสำหรับการนำไฟฟ้า และการรวบรวมกำลังไฟฟ้า .. ผู้ผลิตแผง CdTe ที่มีชื่อเสียงที่สุดรายหนึ่ง คือ First Solar บริษัทอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ในเมือง Tempe รัฐแอริโซนา ..

ประโยชน์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดประการหนึ่งของแผง CdTe คือ ความสามารถในการดูดซับแสงแดดได้ใกล้เคียงกับความยาวคลื่นในอุดมคติ หรือความยาวคลื่นที่สั้นกว่าที่เป็นไปได้ในเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิคอนแบบเดิม พูดง่าย ๆ คือ ความยาวคลื่นที่สั้นกว่า หมายถึง พลังงานที่สูงขึ้น ซึ่งง่ายต่อการแปลงเป็นไฟฟ้า นอกจากนี้ แผงเซลล์แสงอาทิตย์แคดเมียมเทลลูไรด์ ยังมีต้นทุนในการผลิต และติดตั้งน้อยกว่าแผงโซลาร์เซลล์ประเภทอื่น ๆ ..

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับแผง CdTe คือ มลภาวะ .. แคดเมียม คือ สารพิษ มันเป็นหนึ่งในโลหะหนักที่ถือเป็นมลพิษมากที่สุด แคดเมียมเทลลูไรด์ ซึ่งเป็นสารประกอบที่ใช้ในแผงเซลล์แสงอาทิตย์เหล่านี้ ก็มีคุณสมบัติเป็นพิษเช่นกัน ที่สำคัญ แผง CdTe ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผลิตกระแสไฟฟ้าบนหลังคา และบริษัทต่าง ๆ ก็มีมาตรการป้องกันด้านสุขภาพที่เหมาะสมเมื่อจัดการกับวัสดุในระหว่างกระบวนผลิต อย่างไรก็ตาม การทิ้งแผง CdTe ที่เก่าสิ้นสภาพสู่สิ่งแวดล้อม ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ..

เช่นเดียวกับแผงอสัณฐาน แผงแคดเมียมเทลลูไรด์ มีประสิทธิภาพต่ำกว่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทอื่น แผง CdTe มีประสิทธิภาพอยู่เพียงประมาณ 11 – 16 % นั้น อยู่เหนือประสิทธิภาพของแผงเซลล์แสงอาทิตย์อสัณฐาน Amorphous Solar Panels แต่ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยของแผงซิลิกอนมาตรฐาน ..

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ คอปเปอร์ อินเดียม แกลเลียม ไดเซเลไนด์ Copper Indium Gallium Diselenide : CIGS .. เซลล์แสงอาทิตย์ CIGS ทำจากสารประกอบ CuInSe2 ที่คั่นกลางระหว่างชั้นสื่อกระแสไฟฟ้า วัสดุนี้ใช้กับชั้นต่าง ๆ เช่น แก้ว พลาสติก เหล็ก และอลูมิเนียม .. เซลล์แสงอาทิตย์เหล่านี้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า มันคือ ทองแดง อินเดียม แกลเลียม ไดเซเลไนด์ [Cu(InxGa1 – x)Se2] หรือ CIGS เซลล์ .. แผง CIGS บางประเภท ใช้แผ่นรองแบบยืดหยุ่น และชั้นบางช่วยให้มีความยืดหยุ่นสูงอย่างยิ่งทั่วทั้งแผงเซลล์ ..

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ CIGS ต่างจากเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ให้ประสิทธิภาพในการแข่งขันได้กับแผงซิลิคอนแบบเดิม ด้วยประสิทธิภาพที่เกิน 20 % ในการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และปัจจุบัน พบว่ามีสถานที่หลายแห่ง ได้รับการแผนแบบให้ใช้แผง CIGS ที่มีประสิทธิภาพสูงในตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก ..

เช่นเดียวกับแผง CdTe .. เซลล์ CIGS จำนวนมากยังใช้แคดเมียมเคมีที่เป็นพิษ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี CIGS ใช้แคดเมียมในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่า ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสำหรับข้อไข และทางเลือกเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง มันมีคุณภาพดียิ่งขึ้น และบางรุ่นมีการประยุกต์ใช้สังกะสีแทนการใช้แคดเมียม เพื่อให้มันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยมากขึ้น ..

ข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของแผง CIGS คือ ราคาของพวกมัน แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์ CIGS จะเป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้น มันบางเฉียบ อ่อนโค้งงอได้ ม้วน หรือตัดแปะได้ทุกหนแห่ง ด้วยประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิคอนแบบเดิม แต่ก็ยังมีราคาแพงมากในกระบวนผลิต จนถึงจุดที่ยากจะแข่งขันในเชิงพาณิชย์กับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ซิลิคอน หรือ CdTe ที่ประหยัดกว่าได้ ..

เซลล์แสงอาทิตย์สารอินทรีย์ Organic Photovoltaic Cells : OPV เป็นเซลล์ไฟฟ้าโซลาร์ที่ใช้สารโพลิเมอร์อินทรีย์ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า หรือโมเลกุลสารอินทรีย์ขนาดเล็ก เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า .. ในเซลล์ไฟฟ้าโซลาร์เซลล์สารอินทรีย์ ไอ หรือสารละลายอินทรีย์บาง ๆ หลายชั้นจะถูกสะสม และยึดไว้ระหว่างอิเล็กโทรดสองขั้วเพื่อส่งกระแสไฟฟ้า ..

ข้อดี และข้อเสียของเซลล์ PV สารอินทรีย์ ที่มองเห็นได้นั้น .. เซลล์ OPV เป็นที่นิยมมากที่สุดในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบบูรณาการอาคาร Building – Integrated Photovoltaics : BIPV เนื่องจากใช้คุณสมบัติในการเป็นตัวดูดซับประเภทต่าง ๆ ในเซลล์อินทรีย์ได้ อุปกรณ์ OPV จึงมีหลายสี และยังสามารถทำให้โปร่งใสเหมือนเช่นกระจกได้อีกด้วย .. ข้อได้เปรียบด้านความสวยงามนี้ ทำให้ OPV เป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับแอปพลิเคชัน BIPV ที่ไม่เหมือนใคร .. นอกจากนี้ บริษัทด้านวัสดุจำเป็นต้องสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ออร์แกนิก Organic Photovoltaic Cells จำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง และราคาในตลาดก็ถูกลงอย่างมากในเวลาต่อมา ..

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับตัวเลือกฟิล์มบางอื่น ๆ ปัจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์สารอินทรีย์ ยังทำงานได้ด้วยประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ โดยทั่วไปแล้ว OPV จะมีประสิทธิภาพเพียงประมาณ 11 % แต่การเพิ่มการผลิตโมดูลในขณะที่รักษาประสิทธิภาพให้สูงนั้น เป็นปัญหาสำหรับเทคโนโลยี การวิจัยส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกี่ยวกับ OPV จึงมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นนั่นเอง ..

ข้อเสียอีกประการหนึ่งของเทคโนโลยี OPV คืออายุการใช้งาน .. เทคโนโลยีนี้ มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าทั้งแผงรูปแบบเดิม และตัวเลือกฟิล์มบางอื่น ๆ .. การวิจัย แลพัฒนา เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ไฟฟ้าในโมดูลสารอนินทรีย์ Inorganic เป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้สารอินทรีย์ Organic ในอนาคต ..

ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin Film Solar PV Market การเติบโต แนวโน้ม ผลกระทบของโควิด – 19 และการคาดการณ์ 2563 – 2569 ..

สำหรับตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin Film Solar PV Market อ้างอิงมูลจาก Mordor Intelligence เมื่อปีที่ผ่านมา คาดหมายว่า ค่า Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง ที่จะเติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ CAGR 23.02 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ของปี 2563 – 2568 ..

ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ราคาโมดูล Solar PV ที่ต่ำ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง กลายเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของตลาด .. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง ต้องการพื้นที่ที่ใหญ่กว่าโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดอื่น ๆ .. ประเด็นขนาดของพื้นที่ระบบ ส่งผลกระทบในทางลบต่อความคุ้มค่าของระบบโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง เนื่องจากการสูญเสียกำลังไฟฟ้าของแผงชดเชยต้นทุนการติดตั้งที่ลดลง ..

หากประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าไม่ได้รับการปรับปรุงพัฒนาให้เพิ่มขึ้นอีกในเร็ววันนี้แล้ว ปัจจัยนี้ คาดว่าจะขัดขวางการเติบโตของตลาด Thin – Film Solar PV .. ดังนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพ โมดูล Solar PV ฟิล์มบางให้สูงขึ้น จึงสำคัญมาก มันกลายเป็นความหวังของการเติบโตสำหรับอุตสาหกรรม Solar PV ภาพรวมในอนาคต ..

อย่างไรก็ตาม สำหรับตลาดทั่วโลกปัจจุบัน แผงเซลล์แสงอาทิตย์ PV ที่ใช้ แคดเมียมเทลลูไรด์ CdTe เป็นตัวแทนของกลุ่มการผลิตแผ่นเซลล์ไฟฟ้าฟิล์มบางเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด เนื่องจากเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำกว่าเทคโนโลยีที่ใช้ซิลิกอนทั่วไป ..

ภาษีนำเข้าเซลล์แสงอาทิตย์ c – Si และโมดูล Solar PV ในสหรัฐฯ ที่ลดลง คาดว่าจะสร้างโอกาสที่เพียงพอสำหรับผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin Film Solar PV .. ทั้งนี้ เอเชียแปซิฟิก ยังจะคงครองตลาดทั่วโลกต่อไป ความต้องการส่วนใหญ่มาจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น ..

เซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง แคดเมียม – เทลลูไรด์ Cadmium – Telluride : CdTe มีแนวโน้มเป็นตัวหลักในการครองตลาดต่อเนื่อง .. เนื่องจากความสามารถในการผลิตขึ้นได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า และแคดเมียม Cadmium เป็นผลพลอยได้ หรือ Byproduct จากเหมือง การถลุง และการกลั่นของสังกะสี ตะกั่ว และทองแดง .. เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์นี้ ใช้แคดเมียมเทลลูไรด์ CdTe ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ เทียบกับบรรดาเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์อื่นทั้งหมด เทคโนโลยีนี้ เป็นเพียงเทคโนโลยีเดียวที่ต้องการน้ำในปริมาณน้อยที่สุดเพื่อการผลิต ..

เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางแบบ CdTe มีประสิทธิภาพเซลล์สูงขึ้นกว่าที่ผ่านมา อยู่ที่ประมาณ 16.7 % เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีฟิล์มบางอื่น ๆ .. ปัจจุบัน สหรัฐฯ เป็นผู้นำระดับโลกด้านการผลิต CdTe PV และห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งชาติ National Renewable Energy Laboratory : NREL อยู่ในระดับแนวหน้าของการวิจัย และพัฒนา R&D ในเรื่องเหล่านี้ ..

ในปี 2561 ต้นทุนการผลิตกำลังไฟฟ้าจาก CdTe PV นั้น มีราคาที่ไม่แพงมาก ซึ่งน้อยกว่า หรือเท่ากับแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิม .. ทั้งนี้ การปรับปรุงเพิ่มเติมให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก และมีต้นทุนผลิตกำลังไฟฟ้าลดลงมากกว่านี้ ยังคงเป็นเป้าหมายในการวิจัย และพัฒนาต่อไป เพราะมันเป็นความหวังในอุตสาหกรรมเซลล์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์สำหรับหนึ่งในประเด็นความมั่นคงทางพลังงานของมนุษยชาติในอนาคต ..

ส่วนแบ่งหลักในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางนั้น อยู่ที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เนื่องจากมีการติดตั้งโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์แบบใช้ไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค เชิงพาณิชย์ และที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น .. จีนเป็นหนึ่งในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50 % ของความต้องการพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลกในปี 2561 .. เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางส่วนใหญ่ จะใช้ในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในประเทศจีน ..

ในปี 2561 คณะกรรมการพัฒนา และปฏิรูปแห่งชาติของจีน NDRC ได้ยกร่างนโยบายเพิ่มเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนจาก 20 % เป็น 35 % ภายในปี 2573 .. กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ประมาณอย่างน้อย 40 GW จะเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบสายส่งแล้วตั้งแต่ ปี 2562 โดยคาดว่ากำลังการผลิตใหม่ประมาณ 50 % จะมาจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ส่วนแบ่งที่เหลือคาดว่าจะมาจากระบบที่เล็กกว่า และแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์รูปแบบกระจาย ..

Thin – Film Solar Cells & Modules: Small size perovskite cells with stabilized efficiencies up to 19% have been achieve | By Imec

นอกจากนี้ ในญี่ปุ่น คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกญี่ปุ่น ประกาศว่า ต้องการเน้นให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวด้วยการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด รักษ์โลกเท่านั้น .. ผู้จัดงาน ยังวางแผนที่จะหาแหล่งพลังงานหมุนเวียนจากบริษัทพลังงาน และติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ทุกที่ที่กระทำได้ ส่วนหนึ่งของสิ่งนี้ คณะกรรมการ วางแผนที่จะสร้างถนนพลังงานแสงอาทิตย์จำนวนหนึ่งที่ทำจากโพลีคริสตัลไลน์ซิลิคอนแบบฟิล์มบาง รวมทั้ง BIPV ประกอบอาคาร และ Smart Window, Smart Skin ไปจนถึงแม้กระทั่งผ้าม่าน หรือแผ่นฟิล์มคล้ายสิ่งทอในอาคารสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างพลังงานที่ใช้ในโอลิมปิกเกมปี 2021 คาดว่า มันจะเหนี่ยวนำให้ความต้องการเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางรุ่นใหม่ล่าสุดที่ให้ประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าสูงกว่า เพิ่มขึ้นในตลาดอีกมากในระยะยาว ..

ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น โครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้น พร้อมกับนโยบายสนับสนุน และเงินอุดหนุนจากภาครัฐ และเอกชนจากนี้ไป .. ตลาดเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง คาดว่าจะเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญตลอดระยะเวลาคาดการณ์ หรืออย่างน้อยจนถึงปี 2569 ..

สรุปส่งท้าย ..

การประยุกต์ใช้งานแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ของมนุษยชาติทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้น .. ผู้คนสามารถเห็นหลักฐานบนหลังคาบ้าน สวนหลังบ้าน ประตู หน้าต่าง เปลือกพื้นผิวอาคาร ตามแนวถนน เหนือพื้นที่การเกษตร หลังคาโรงงานอุตสาหกรรม บนอ่างเก็บน้ำ และในทะเลทราย ..

หน่วยผลิตไฟฟ้าที่เป็นแผงโซล่าร์เซลล์แยกย่อย และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ รูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย .. มันได้กลายเป็นสัญญาณบ่งชี้ชัดเจนต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และมันกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ ..

สำหรับในประเทศไทยนั้น ศักยภาพในการรับแสงอาทิตย์ถือว่ายอดเยี่ยม เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคใต้ และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดอุดรธานี กับบางพื้นที่ในภาคกลาง .. ประมาณ 14.3% ของประเทศมีการเปิดรับแสงอาทิตย์ทุกวันประมาณ 19 – 20 MJ / m2 / วัน ในขณะที่อีก 50% ของประเทศได้รับประมาณ 18 – 19 MJ / m2 / วัน .. ด้วยเหตุนี้ ในแง่มุมศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ประเทศไทยนั้น ถือว่าสูงมาก ซึ่งอาจยังน้อยกว่าในสหรัฐฯ แต่นำหน้าญี่ปุ่น ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย มีส่วนแบ่งมากกว่า 3 GW ซึ่งเป็นกำลังการผลิตที่มากกว่า 60% ของกำลังการผลิตกำลังไฟฟ้าที่ติดตั้งทั้งหมดในภูมิภาคอาเซียน ตามด้วยฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ .. ในมุมมองนี้ พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ตามนโยบายความมั่นคงทางพลังงานประเทศไทย ซึ่งหมายถึง กำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล จะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ไม่นับรวมไฟฟ้าพลังน้ำ ภายในปี 2580 หรือก่อนหน้านี้ .. ปัจจุบัน คาดหมายว่า เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบาง Thin Film Solar Cell กำลังจะเข้ามามีส่วนร่วมสำคัญ ในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในครัวเรือน ชุมชน และสังคมไทยด้วย เพราะมันกำลังจะเป็นแหล่งพลังงานหลักรูปแบบกระจายอีกตัวหนึ่ง ภายใต้แผนงานพัฒนาพลังงานทางเลือก AEDP ของประเทศ ..

ตัวอย่างการลงทุนของ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ Energy Absolute : EA บริษัทเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาด ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จังหวัดลพบุรี กำลังผลิต 8 MW AC / 9.33 MW DC เป็นตัวอย่างหนึ่งของเอกชนไทยสำหรับโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับชุมชนในท้องถิ่นแบบพอเพียงที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึก Crystalline Solar Cell และเซลล์แสงอาทิตย์ฟิล์มบาง Thin Film Solar Cell รุ่นแรก เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้ากระจายสู่ชุมชนในท้องถิ่น .. นอกจากนี้ EA ยังมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อีก 3 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ ลำปาง และพิษณุโลก กำลังผลิตไฟฟ้ารวมอีกถึง 270 MW AC, 388.172 MW DC ..

ทั้งนี้ ตัวอย่างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ฟิล์มบาง ที่จังหวัดลพบุรีอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลพบุรีโซลาร์ ของบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด NED บนเนื้อที่ 1,400 ไร่ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 73 MW DC เพื่อใช้ในครัวเรือนได้มากถึง 70,000 หลังคาเรือน และสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงประมาณ 1.3 ล้านตันต่อปี ถือเป็น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Thin Film ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ..

อย่างไรก็ตาม ด้านประสิทธิภาพของแผงโซล่าร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางรุ่นแรก ๆ โดยทั่วไปนั้น มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่เพียง 7 – 13 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุที่นำมาทำเป็นฟิล์มฉาบ แต่สำหรับอาคาร บ้านเรือนโดยทั่วไปในประเทศไทยปัจจุบันนี้นั้น มีเพียงประมาณ 5 % เท่านั้น ที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ที่เป็นรูปแบบชนิดฟิล์มบาง .. ดังนั้น การพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตกำลังไฟฟ้าของโมดูล Solar PV ฟิล์มบางให้สูงกว่าด้วยต้นทุนลดลง กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ .. เนื่องเพราะ เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin – Film Solar Cell Technologies คือ นวัตกรรมแห่งความหวังของอนาคตภาพรวมอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จะเปลี่ยนมุมมองการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของสังคมไปตลอดกาลให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

Transparency in Former Bell Building: Full Transparent Window & Solar Panel at the Same Time | Credit: Onyx Solar

จินตนาการได้ยากยิ่งว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสังคม หรือในชีวิตประจำวัน หากรถยนต์ไฟฟ้าของคุณ สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ด้วยตัวมันเองอย่างพอเพียง Self – Sufficient Energy System .. มันจะสามารถวิ่งไปได้โดยไม่ต้องชาร์จไฟฟ้า หรือเติมเชื้อเพลิงใด ๆ อีก หรือเมื่อโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่จำเป็นต้องชาร์จกำลังไฟฟ้าอีกต่อไป เพราะมันผลิตกำลังไฟฟ้าชาร์จแบตเตอรี่ได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากภายนอก .. มันน่าตื่นเต้น แต่อาจต้องรอไปอีกสักพักหนึ่ง ซึ่งหวังว่าคงไม่นานนัก ..

ทั้งนี้ ไม่ว่าพัฒนาการของ Thin Film Solar PV จะก้าวหน้าไปอย่างไรก็ตาม .. ตลาดสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง Thin Film Solar PV Market ในปัจจุบัน อ้างอิงมูลจาก Mordor Intelligence เมื่อปีที่ผ่านมา คาดหมายว่า ค่า Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบาง ที่จะเติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ CAGR 23.02 % ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2563 – 2568 .. หมายถึง มันกำลังกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ ..

ภาพรวมตลาดโซล่าร์เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย คาดว่า จะเติบโตในอัตราที่น่าเกรงขามในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของไทย ได้รับแรงหนุนจากความต้องการพลังงานยั่งยืนที่เพิ่มขึ้น .. การริเริ่ม และนโยบายสนับสนุนของภาครัฐ จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดได้จนถึงปี 2568 .. นอกจากนี้ ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจในการจัดหากำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าร์เซลล์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน คาดว่า มันจะกลายเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของตลาดในช่วงจากนี้ไป ไม่มีข้อสงสัย ..

ตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย แบ่งตามประเภทผลิตภัณฑ์ ประเภทระบบสายส่ง การใช้งาน ตามภูมิภาค และตามประเภทของผลิตภัณฑ์ .. ตลาด Solar PV สามารถแยกส่วนออกเป็นฟิล์มบาง Multi – Si และ Mono – Si โดยเฉพาะประเภท Mono – Si : Flexible Carbon Nanotube / Mono – Crystalline Si Thin – Film Solar Cells ได้รับการคาดหมายไว้ว่า มันจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้นมาก ราคาลดลง และอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ตามการใช้งาน .. ตลาดที่กล่าวถึง สามารถแบ่งออกเป็น เช่น ที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย อาคารเชิงพาณิชย์ และยูทิลิตี้ Utility หรือการบริการสาธารณะ เป็นต้น ..

การใช้งานใน ยูทิลิตี้ Utility หรือการบริการสาธารณะนั้น คาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. คาดหมายได้ว่า จะเป็นการใช้ระบบไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ในโรงไฟฟ้าขนาดกลางขึ้นไป กิจการทหาร และการป้องกันประเทศ รวมทั้งการใช้งานในระบบสาธารณูปโภค เนื่องเพราะความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นนั้น เหมือนกันทั่วโลก .. แผนงานดำเนินการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้น เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางรุ่นล่าสุดในยูทิลิตี้ Utility หรือการบริการสาธารณะเพิ่มขึ้นในตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีส่วนแบ่งสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อทดแทนแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศ สอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่มุ่งไปสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero ร่วมกับนานาชาติได้สำเร็จในที่สุด ..

ผู้เล่นรายใหญ่ที่ดำเนินงานในตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ของไทย ได้แก่ บริษัท Energy Absolute Public Companies : EA, SPCG PCL, Symbior Energy Limited, Thai Solar Energy PLC, Trina Solar Co., Ltd (Trina Solar), Solaris Green Energy Co., Ltd., Solartron Public Company, บริษัท Yingli Green Energy Holding Co., Ltd, ItalThai, Toyothai, บริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด NED และอื่น ๆ เป็นต้น ..

บริษัทเอกชนไทยต่าง ๆ เหล่านี้ กำลังมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด กลยุทธ์การแข่งขันอื่น ๆ รวมถึงการควบรวมกิจการ การพัฒนาบริการใหม่ .. ทั้งนี้ Thin Film Solar PV Technologies กลายเป็นหนึ่งในข้อไขที่น่าสนใจ และเป็นโอกาสทางธุรกิจไปสู่ตลาดใหม่ ๆ สำหรับชุมชน ชีวิตประจำวันของผู้คน และสังคมไทยในอนาคตได้ต่อไป ..

…………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By…. โลกสีฟ้า

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

What is Thin – Film Solar? | Solar Power World :-

Types of Thin – Film Solar Panels | EnergySage & US DOE :-

Thin Film Solar Panels: Do They Make Sense? | EnergySage & US DOE :-

What is Thin – Film Solar? – Solar Power World :-

How Do Thin Film Solar Panels Work? | SolarReviews

Ultra – Thin, Lightweight and Flexible Solar Panels

Characterization of Performance of Thin – Film Photovoltaic Technologies | IEA – PVPS :

https://iea-pvps.org/wp-content/uploads/2020/01/IEA-PVPS_T13-02_2014_Characterization_ThinFilm_Modules.pdf

Bringing together Construction Technology & Solar PV for Design & Performance | IEA :-

https://www.iea.org/articles/bringing-together-construction-technology-and-solar-pv-for-design-and-performance

Building – Integrated Photovoltaics | SEIA :-

13 Best Flexible Solar Panels in 2021 Review | Buyer’s Guide :-

Production of Thin – film Solar Cells | HowStuffWorks :-

Thailand Solar Photovoltaic Market By Product Type (Thin film, Multi – Si, Mono – Si), By Grid Type (Grid Connected and Off – Grid), By Application (Residential, Non – Residential/Commercial, Utility), By Region, Forecast & Opportunities, 2026 :-

Transparent Solar Panels: Reforming Future Energy Supply | Solar Magazine :-

The ASCA : Thin – Film Solar PV | ASCA :-

Solar Power Film: Turning Windows Into Solar Panels| TWF :-

SolarWindow : Clearly Electric | Electricity Generating Glass & Plastics :-

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img