วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTS“ภูมิใจไทย”ปรับไซส์เป็น...พรรคใหญ่ “อนุทิน”หวังลุ้นชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภูมิใจไทย”ปรับไซส์เป็น…พรรคใหญ่ “อนุทิน”หวังลุ้นชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

ถ้าเป็นไปตามข่าวจริง โดย พรรคภูมิใจไทย (ภท.) จะใช้วันที่ทำพิธีเปิดที่ทำการพรรค วันที่ 16 ธ.ค.65 หลังรีโนเวทครั้งใหญ่ เมื่อช่วงกลางเดือนเม.ย.65 ที่ผ่านมา โดยจะมีการเตรียมความพร้อมและแสดงพลังของบรรดา “ว่าที่ผู้สมัครส.ส.” ของทุกพรรคการเมืองที่ประกาศตัวชัดเจนว่า จะลงสมัครรับเลือกตั้งกับพรรคภท. จำนวน 37 คน เข้าร่วมงานด้วย 

ภายหลังจากที่ส.ส.เหล่านั้นได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและส.ส.ของพรรคการเมืองเดิมที่สังกัด ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ ก่อนที่จะเริ่มประกาศตัวหาเสียงในนามพรรคภท. และชู “อนุทิน ชาญวีรกูล” หัวหน้าพรรค เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ในการเลือกตั้งเที่ยวหน้า  

ต้องถือเป็นสึนามิทางการเมืองครั้งสำคัญ จะส่งต่อ พรรคการเมืองตันสังกัด และจำนวนส.ส.ที่เหลืออยู่ในสภาฯ

คำถามคือ ทำไมพรรคภท. ต้องให้ส.ส.ตัดสินใจลาออก หรือเกรงว่า อาจมีแรงดึงดูด จากพรรคการอื่น เสนอเงื่อนไขที่ดีกว่า ทำให้นักการเมืองที่ตัดสินใจตกลงไว้ เปลี่ยนแปลงท่าที่จุดยืน

นอกจากนี้ยังมีรายงานข่าวอีกว่า ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 4-5 วันหลังจากนี้ ยังอยู่ในการ “ดีลลับ” หากตกลงกันได้จนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ก็จะมี ส.ส.ลาออกเพิ่มขึ้นอีก และคาดว่าเบื้องต้นในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะมีส.ส.จากพรรคการเมืองอื่นๆ ที่จะย้ายมาพรรคภท. ไม่ต่ำกว่า 43 คน เข้าร่วมในงานดังกล่าวด้วยเป็นการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ  

หลังจากนั้นก็จะมีการทยอยเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส. ในนามพรรคภูมิใจไทยต่อไป รวมถึงการเปิด “ดีลลับ” อีกเป็นระยะๆ ในช่วงเดือนม.ค.66  เนื่องจากสถานการณ์ภายในของแต่ละพรรตการเมืองยังไม่นิ่ง ยังมีแนวโน้มที่ส.ส.จะย้ายพรรคอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ชัดเจน

ขณะที่จากการตรวจสอบสื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า มีส.ส.ที่จะเข้าพรรคภท. เบื้องต้น จำนวน  37 คน อาทิ 

1.พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จำนวน 14 คน ได้แก่ 1.นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. 2.นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. 3.น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. 4.นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท 5.นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ ส.ส.ชัยภูมิ 6.นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์ ส.ส.นครปฐม 7.นายกฤษณ์ แก้วอยู่ ส.ส.เพชรบุรี 8.นายสุชาติ อุสาหะ ส.ส.เพชรบุรี 9.นายอนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลก 10.นายประทวน สุทธิอํานวยเดช ส.ส.ลพบุรี 11.นายสมเกียรติ วอนเพียร ส.ส.กาญจนบุรี 12.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี 13.นายอัฎฐพล โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี 14.พล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี

2.พรรคเพื่อไทย (พท.) จำนวน 10 คน ได้แก่ 1.นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ 2.นายธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ 3.นางผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ 4.นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. 5.นายรังสรรค์  วันไชยธนวงศ์ ส.ส.เชียงราย 6.นายนิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก 7.นายจักรพรรดิ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี 8.นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก 9.นายสุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา 10.นายนพ ชีวานันท์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา 

3.พรรคก้าวไกล (ก.ก.) จำนวน 5 คน ได้แก่ 1.นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี 2.นายเอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย 3.นายพีรเดช คําสมุทร ส.ส.เชียงราย 4.นายเกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 5.นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ

4.เศรษฐกิจไทย (ศท.)  จำนวน 3 คน ได้แก่ 1.นายธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก 2.นายธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี 3.นายณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์

5.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จำนวน 1 คน ได้แก่ น.ส.แนน บุณย์ธิดา สมชัย ส.ส.อุบลราชธานี

6.พรรคเพื่อชาติ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายอารี ไกรนรา ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

7.พรรคประชาภิวัฒน์ จำนวน 1 คน ได้แก่ น.ส.นันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ

8.พรรคชาติพัฒนา จำนวน 1 คน ได้แก่ นายสมัคร ป้องวงษ์ ส.ส.สมุทรสาคร

9.พรรครวมพลัง จำนวน 1 คน ได้แก่ น.ส.อนุสรี ทับสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

อย่างไรก็ตาม มีรายงานข่าวปรากฏว่า ส.ส.พรรค พปชร. หลายคนยังไม่ต้องการลาออกจาก ส.ส.ในตอนนี้ แต่ต้องการลาออก ในช่วงปลายเดือนม.ค.66 เพราะเห็นว่า ยังพอมีเวลา เพื่อสังกัดเป็นสมาชิกใหม่ 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง ไม่ต้องเร่งรีบลาออก อีกทั้งเวลาหาเสียงในสถานะส.ส.กับสถานะอดีตส.ส.นั้นต่างกัน ถ้ายังเป็นส.ส.จะหาเสียงง่ายกว่า โดยเฉพาะช่วงนี้ใกล้เทศกาลปีใหม่ จะมีงานและกิจกรรมในพื้นที่หลายงาน ทั้งเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รวมไปถึงงานวันเด็กแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมามักจะเชิญส.ส.ไปเป็นประธานหรือร่วมกิจกรรม ทำให้ ได้พบปะประชาชน ทั้งนี้อาจมีส.ส.พรรค พปชร. บางกลุ่มนัดแนะกันเพื่อจะเป็นตัวแทนไปพบ “ผู้มีอำนาจ” ของพรรคภท. เพื่อขอผัดผ่อนการลาออกในครั้งนี้ออกไปก่อน

ขณะที่ “สมัคร ป้องวงษ์” ส.ส.สมุทรสาคร พรรคชาติพัฒนากล้า ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข่าวว่าจะย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยว่า ในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จะยื่นใบลาออกจากตำแหน่งส.ส. กับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ และมีให้ผลในวันที่ 15 ธ.ค. จากนั้นในวันที่ 16 ธ.ค. จะไปร่วมงานเปิดที่ทำการพรรคภท. พร้อมกับสมัครเป็นสมาชิกพรรคภท.

ถามว่า ทำไมถึงไม่อยู่เป็นส.ส.ต่อเพื่อช่วยผลักดันร่างพ.ร.บ.กัญชา กัญชง ของพรรคภท. “สมัคร” กล่าวว่า ยอมรับว่าร่างกฎหมายที่ค้างในสภาฯจะเดินหน้าไม่สำเร็จ เพราะเล่นแต่เกมการเมือง คงไม่สามารถผ่านได้ และแม้จะผ่านสภาฯ ต้องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาอีก ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถผลักดันได้ทันในสภาฯชุดปัจจุบัน

“งานในสภาฯ คงเป็นแค่การซื้อเวลาของส.ส.ที่รอวันเลือกตั้งหรือย้ายพรรค โดยร่างกฎหมายกัญชา แม้จะไม่สำเร็จในสภาชุดปัจจุบัน ยังสามารถนำไปหาเสียง ถือว่าเป็นมรดกที่นำไปขายได้”

ด้าน “แนน บุณย์ธิดา สมชัย” อดีตส.ส.อุบลราชธานี พรรคปชป.เปิดเผยว่า ได้ยื่นใบลาออกจากส.ส. และลาออกจากสมาชิกพรรคปชป.แล้ว โดยเมื่อช่วงเช้า (13 ธ.ค.) ได้ไปยื่นใบลาออก ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แต่กังวลว่าในการประชุมสภาฯวันที่ 14 ธ.ค. ตนจะยังถูกนับเป็นองค์ประชุมอยู่ เพราะขั้นตอนของกกต.กว่าจะมาถึงสภาฯล่าช้า ดังนั้นเมื่อช่วงเที่ยงวันเดียวกัน จึงได้มาลานายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เพื่อให้ทราบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนายชวนก็อวยพร ขอให้ใชคดี

ส่วนกับพรรคปชป. ตนได้ก็พูดคุยกับนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคปชป. ซึ่งก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทราบมาก่อนแล้ว ทั้งนี้พร้อมจะไปเปิดตัวเป็นสมาชิกพรรคภท.ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้

ส่วน “ภราดร ปริศนานันทกุล” โฆษกพรรค ภท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 ธ.ค.นี้ จะมีการเปิดตัวที่ทำการพรรคที่ได้มีการปรับปรุงใหม่แล้วเสร็จ ซึ่งจะมีส.ส.และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. เข้าร่วมงาน จำนวนกว่า 300 คน โดยในวันเปิดที่ทำการพรรค จะมีส.ส.ที่จะเข้ามาสมัครสมาชิกพรรค เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับพรรคภท.ในการเลือกตั้งครั้งหน้าอย่างเป็นทางการ 

พร้อมทั้งการจัดประชุม ส.ส.และว่าที่ผู้สมัคร พร้อมกันเป็นครั้งแรก ในที่ทำการพรรคที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ โดยจะมีการ ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน 300 กว่าคน บริเวณลานด้านหน้าพรรค 

โฆษกพรรคภท. กล่าวอีกว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึง ความพร้อมขั้นสูงสุด ในการเตรียมตัวเข้าสู่สนามเลือกตั้ง พรรคภท.มีทั้งนโยบาย พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอกเบี้ย คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท, เพิ่มค่าตอบแทน อสม. เป็นเดือนละ 2,000 บาท เจ็บป่วยมีประกัน, เกษตรร่ำรวย Contract Farming รู้ราคาก่อนปลูก รับเงินก่อนขาย เสียหายมีประกัน, รถเมล์ไฟฟ้า ลด PM 2.5 ค่าโดยสารเริ่มต้น 10 บาทสูงสุด 40 บาท ทุกเที่ยว ทุกสายตลอดวัน, ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ฟรีหลังคาโซล่าเซลล์ ลดค่าไฟฟ้า หลังคาเรือนละ 450 บาท ต่อเดือน มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ผ่อนเดือนละ100 บาท 60 งวด, เครื่องฉายรังสี ฟรีทุกจังหวัดรักษามะเร็ง ศูนย์ฟอกไตฟรี ทุกอำเภอ 

ต้องยอมรับที่ผ่านมา พรรค ภท.เป็นตัวแปรทางการเมือง ก่อนรวมรัฐบาลกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา “อนุทิน” เคยได้รับข้อเสนอจาก “คนแดนไกล” จนไม่ยอมรับโทรศัพท์ ในช่วงร่วมรัฐบาลกับ “นายกฯลงตู่” ก็ไม่เคยสร้างปัญหากับฝ่ายบริหาร ช่วย ดูแลเสียงสนับสนุน ในวาระที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่งให้ห้วงเวลาที่หัวหน้ารัฐบาล ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ช่วยดูแลเสียงสนับสนุนในญัตติซักฟอก ไม่ให้ตกเป็นเป้าในการถูกทำลายความน่าเชื่อถือ

การปรับทัพพรรค ภท.ให้กลายเป็น พรรคใหญ่ อาจเป็นเพราะเห็นปัญหาความขัดแย้งระหว่าง “2 ป.” คือ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะหัวหน้าพรรค พชปร. และ “พล.อ.ประยุทธ์” ซึ่งแยกไปรวมงานกับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ถ้าหากพรรค รทสช. ไม่สามารถรวบรวมส.ส.ได้ถึง 25 คน ภายหลังการเลือกตั้ง จะไม่สามารถผลักดันบุคคลใดขึ้นมาเป็นหัวหน้ารัฐบาล

เมื่อถึงเวลานั้น คงเป็นเวลาของ “หัวหน้าพรรคภท.”

……………………………

คอลัมน์ : ล้วง-ลับ-ลึก

โดย..“แมวสีขาว”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img