วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEน้ำมัน 5 แสนบาทต่อเที่ยว! แจงเหตุไม่ส่ง F-16 สกัดบินรบเมียนมา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

น้ำมัน 5 แสนบาทต่อเที่ยว! แจงเหตุไม่ส่ง F-16 สกัดบินรบเมียนมา

เสียงกัมปนาท กึกก้องไปทั่วอำเภอพบพระ ของเครื่องบินมิก 29 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่บินล่วงล้ำอธิปไตยในน่านฟ้าไทย เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา

ภาพความเสียหายในครั้งนั้น มีรถกระบะที่ถูกเศษกระสุน ได้รับความเสียหาย มีหลังคาโรงเรียนบ้านวาเล่ย์ที่ถูกยิง และมีรายงานว่า ชาวกะเหรี่ยงถูกยิงเสียชีวิตจำนวนมาก

ถึงวันนี้ ผ่านมาแล้ว 2 เดือนเศษๆ เรื่องราวดังกล่าว ยังสร้างความหวาดผวาให้กับชาวบ้านในพื้นที่ และการชี้แจงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กองทัพอากาศ เอง ก็ยังดูคลุมเครือ

กระทั่งมีรายงาน บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 67 วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เปิดเผยออกมา…

ในวันนั้น ตัวแทนจากกองทัพอากาศ นำโดย พล.อ.อ.คงศักดิ์ จันทรโสภา ผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ, ตัวแทนจากสำนักปฏิบัติการ กรมยุทธการทหาร และตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ เข้าชี้แจงกรรมาธิการ

กองทัพอากาศ ชี้แจงว่า พบการใช้อากาศยานปฏิบัติการทางอากาศ แนวชายแดนไทย-เมียนมา ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2565 รวม 315 เที่ยวบิน เป็นการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดน 21 เที่ยวบิน และไม่เคยมีการบินล้ำแดนประเทศไทย

กระทั่งวันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีอากาศยานปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดน ตรงข้ามอำเภอพบพระ จังหวัดตากรวม 17 เที่ยวบิน และมี 1 เที่ยวบิน ล้ำน่านฟ้าประเทศไทย

ในเวลา 11.16 น. เรดาห์ตรวจพบอากาศยานเมียนมา พิกัดห่างชายแดนไทย 113 ไมล์ทะเล หรือ 204 กิโลเมตร และอากาศยานดังกล่าว ได้เปิดสัญญาณพิสูจน์ฝ่าย เปิดเผยปฏิบัติการการบินให้เรดาห์จับสัญญาณได้ โดยมิได้มีเจตนาแอบแฝง

จากการพิจารณาข้อมูลการข่าว คาดหมายว่า เป็นเครื่องบินรบมิก-29 จึงได้พิสูจน์ฝ่ายให้เป็นเป้าหมายไม่ทราบฝ่าย ที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงประเทศ เป็นการปฏิบัติภารกิจในประเทศของฝ่ายสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ต่อมาเวลา 11.48 น. คาดว่าเครื่องบินรบมิก-29 ปฏิบัติการทางอากาศ ต่อที่หมายบริเวณแนวชายแดนเขตเมียนมา ศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศแจ้งเตือนหน่วยบินขับไล่สกัดกั้น และหน่วยกำลังในพื้นที่เตรียมพร้อมปฏิบัติการ

เวลา 11.56 น. เรดาห์ตรวจพบเครื่องบินรถดังกล่าว บินล้ำเส้นเขตแดนไทย บริเวณตำบลวาเลย์ ห่างจากแนวชายแดนประมาณ 1 ไมล์ทะเล ทางกองทัพอากาศ ได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยบินเตรียมพร้อมขับไล่สกัดกั้น แต่ไม่สั่งการ เนื่องจากพบว่าเครื่องบินมิก-29 มีทิศทางบินกลับเมียนมา และพ้นจากเส้นเขตแดนไทย ในช่วงระยะเวลาอันสั้นประมาณ 11.58 น. หรือราวๆ 2 นาทีให้หลัง

จากข้อมูลพบว่า อากาศยานลำนี้ ได้ทำการบินตั้งแต่วิ่งขึ้นจากฝั่งเมียนมา กระทั่งปฏิบัติภารกิจ คาดว่าน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้หมด จึงบินกลับฐานที่ตั้ง การที่ประเทศไทยจะสั่งการให้เครื่องบินขับไล่ ขึ้นบินสกัดกั้น จะใช้เวลา 5 นาที และใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีบินถึงเป้าหมาย

การส่งเครื่องบินขึ้นบินสกัดกั้นครั้งหนึ่ง จะสูญเสียงบประมาณ 500,000 บาท ซึ่งไม่สามารถปฏิบัติภารกิจใดๆ ได้เลย และการสกัดกั้น ทำได้เฉพาะเขตน่านฟ้าไทยเท่านั้น จากนั้นเรดาห์ไม่สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ในเวลา 12.17 น. ที่ระยะ 103 ไมล์ทะเล จากชายแดนไทย

จากนั้นศูนย์ยุทธการทางอากาศ ได้กำหนดมาตรการทั้งด้านการทูต ด้วยการนำเรียนผู้บังคับบัญชาระดับสูงและผู้เกี่ยวข้อง ประท้วงในทุกระดับ

ส่วน ด้านการทหาร พิจารณาว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากพบอากาศยานเมียนมาปฏิบัติภารกิจใกล้เขตชายแดนในลักษณะนี้อีก ประเทศไทยจะสั่งการให้เครื่องบินขับไล่ บินลาดตระเวนตามแนวชายแดนฝั่งตรงข้าม เพื่อแสดงท่าทีในการป้องปราม และถ้าจำเป็นอาจสั่งให้มีการใช้อาวุธ

หลังจากนั้นในเวลา 14.00 น. เรดาห์พบอากาศยานของเมียนมา มีทิศทางที่จะเข้ามาในพื้นที่เดิมเพื่อปฏิบัติภารกิจ ซึ่งมีความเร็วน้อยกว่าครั้งแรก คาดว่ามิใช่เครื่องบินขับไล่ ห่างจากชายแดนประเทศไทย 48 ไมล์ทะเล

จึงสั่งการให้ห่วยบินนำเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-16 จำนวน 2 เครื่อง วิ่งขึ้นเวลา 14.02 น. ทำการบินลาดตระเวนรบรักษาเขต (CAP) เพื่อแสดงท่าทีเป็นการป้องปราม และป้องกันเหตุผิดพลาด พบเป็นเฮลิคอปเตอร์เมียนมา ปฏิบัติการทางอากาศในพื้นที่ประเทศเมียนมา ไม่มีการล้ำเส้นเข้าแดนไทย

เรื่องนี้ กรรมาธิการได้แสดงความกังเรื่อง เรื่องความมั่นคงและศักยภาพกองทัพประเทศไทย ที่เครื่องบินขับไล่ มิก-29 ล่วงล้ำอาณาเขต ทางกองทัพจะสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนได้อย่างไร และทำไมถึงส่งเครื่องบินขึ้นไปสกัดกั้นล่าช้า

ทาง ผู้แทนกองทัพ ระบุว่า แนวเขตชายแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้าน มีอาณาเขตความยาวหลายพันกิโลเมตร กองทัพอากาศไม่สามารถปิดกั้นแนวเขตได้หมดทุกส่วน แม้กระทั่งฝ่ายไทยก็เคยบินล่วงล้ำเข้าไปในเขตเพื่อนบ้านเช่นกัน

ในภาวะสถานการณ์ความสงบมิได้เป็นคู่ขัดแย้ง และมิได้ประกาศสงครามระหว่างกัน เหตุการณ์ที่เกิด มิได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ด้วยลักษณะภูมิประเทศ เมื่อเกิดแล้วก็ต้องดำเนินมาตรการที่แสดงให้เห็นว่า มิได้ยอมให้อีกฝ่ายกระทำการเช่นนี้ แต่มิใช่ต้องแสดงความรุนแรงต่อกันด้วยการใช้อาวุธ

ส่วนการที่กองทัพอากาศประเมินสถานการณ์แล้ว มิได้ส่งเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ขึ้นบินสกัดกั้น เพราะจะสูญเสียงบประมาณเป็นเงิน 500,000 บาท โดยมิได้ประโยชน์แต่อย่างใด เนื่องจากความผิดสำเร็จแล้ว แต่หากเครื่องบินขับไล่ดังกล่าว มีทิศทางมุ่งหน้าเข้าประเทศไทย กองทัพอากาศต้องออกคำสั่งให้เครื่องบินขับไล่ บินสกัดกั้นอย่างแน่นอน

สำหรับ ประเด็นรถกระบะที่ได้รับความเสียหาย กองทัพอากาศมิได้อยากให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น แต่เป็นหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายประเทศไทย ต้องดำเนินการต่อไป แต่กรณีภาพเครื่องบินเมียนมาเหนือบ้านวาเล่ย์นั้น กองทัพอากาศยืนยันว่า ภาพข่าวมิได้อยู่เหนือจุดที่ถ่ายภาพแต่อย่างใด และยืนยันว่ากองทัพ มิได้ยินยอมให้ใช้น่านฟ้าไทยในการทำลายชนชาติอื่น

กองทัพอากาศ ยืนยันด้วยว่า มีการจัดทำข้อมูลทำเนียบกำลังรบของประเทศเพื่อนบ้า ว่าแต่ละฐานบิน มีเครื่องบินรบรุ่นใดประจำการอยู่จำนวนเท่าใด โยดจะเก็บสถิติข้อมูลจากเรดาห์ รายงานผู้บังคับบัญชาระดับสูงทุกสุปดาห์ ส่วนอาวุธต่อสู้อากาศยานที่แม้จะมีจำกัด ขอให้มั่นใจว่า กองทัพอากาศ สามารถป้องกันปะเทศจากภัยคุกคามที่เกิดขึ้นรอบด้านได้

………………

รายงานพิเศษ : ฟ้าคำราม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img