วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVE“IRPC”กางแผน 5 ปี รุกธุรกิจใหม่!!! เสริมแกร่งพลังงานสะอาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“IRPC”กางแผน 5 ปี รุกธุรกิจใหม่!!! เสริมแกร่งพลังงานสะอาด

การลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด เทคโนโลยีพลังงาน และการลงทุนในธุรกิจ Healthcare เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันในยุคนี้ เพื่อรองรับกับวิถีของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเห็นหลายบริษัทฯ ออกมาประกาศวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่ และธุรกิจพลังงานสะอาดมากขึ้น

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC ในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เป็นอีกบริษัทที่ได้ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ สู่การเป็นองค์กร “สร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้วัสดุและพลังงาน เพื่อชีวิตที่ลงตัว (To Shape Material and Energy Solutions in Harmony with Life)” ที่มากกว่าการเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นน้ำมัน สอดรับกับทิศทางของโลกในอนาคต เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคทุกรูปแบบสร้างความยั่งยืน พร้อมเปิดเผยแผนการลงทุน 5 ปีที่จะรุกลงทุนในธุรกิจใหม่มากขึ้น

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ IRPC กล่าวว่า แผนการลงทุน 5 ปี (2022-2026) เตรียมงบลงทุนราว 43,000 ล้านบาท และได้จัดเตรียมงบลงทุนในอนาคต (Provisional Capital Expenditure) อีกราว 20,000 ล้านบาท โดยในสัดส่วนของงบลงทุนตามแผน 5 ปีนั้นแบ่งเป็นการลงทุนธุรกิจใหม่ในสัดส่วน 35-40% ซึ่งจะเน้นทางด้าน Material Solution และ Energy Solution

ทั้งนี้จากการลงทุนในธุรกิจใหม่นั้นในอนาคตคาดว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของ IRPC ได้เป็นอย่างดี โดยได้ตั้งเป้าหมาย EBITDA มากกว่า 20,000 ล้านบาท ในปี 2025 และ EBITDA เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ล้านบาทในปี 2030 ด้วยการต่อยอดความแข็งแกร่งในธุรกิจปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการสร้างธุรกิจใหม่ และเตรียมความพร้อมสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดมากขึ้น

โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้พลังงานแห่งอนาคต รวมทั้งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน เช่น การขยายโครงการ Floating Solar และโครงการ Solar Farm ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมไออาร์พีซี จังหวัดระยอง การพัฒนาวัสดุเคลือบแผง Solar Cell ลดความร้อน และส่วนประกอบอุปกรณ์เก็บพลังงานสำรองให้รถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อเตรียมความพร้อมสู่องค์กร Net Zero Emission โดยวางเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas: GHG) ลง 20% ในปี 2030 

สำหรับแผนธุรกิจ 5 ปี IRPC ได้กำหนดกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ด้วยการพัฒนาและขยายธุรกิจที่มีความชำนาญไปยังห่วงโซ่คุณค่าใกล้เคียงของธุรกิจ และการแสวงหาธุรกิจใหม่ๆ

การต่อยอดการเติบโตจากกลุ่มธุรกิจในปัจจุบัน (Core Uplift) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการลงทุนโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซลตามมาตรฐานยูโร 5  (Ultra Clean Fuel Project: UCF) มูลค่า 1.33 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2024 ตลอดจนการพัฒนาและการเพิ่มสัดส่วนการขายเม็ดพลาสติกชนิดพิเศษ (Specialty) จาก 20% ในปี 2021 เป็น 52% ในปี 2025 โดยบูรณาการกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้าตลาดและการตอบสนองต่อลูกค้า

การลงทุนในกลุ่มธุรกิจข้างเคียง (Adjacent Business) ได้แก่ โครงการผลิตเม็ดพลาสติก พีพี เกรด เมลต์โบลน (PP Melt blown) และการร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท อินโนโพลีเมด จำกัด เพื่อผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ (Non-woven Fabric) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญสำหรับผ้าชั้นกรองหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุดกาวน์ และแผ่นกรองอากาศ เป็นต้น โดยตั้งเป้าหมายจะเป็นผู้ผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอครบวงจรรายแรกของประเทศไทย ที่พร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2021

นอกจากนี้ IRPC ยังได้ร่วมมือกับ ปตท.ในการศึกษาการผลิตถุงมือทางการแพทย์ โดยใช้ Nitrile Butadiene Latex (NBL) เป็นวัตถุดิบ ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และยกระดับด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทย สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจ New S-Curve กลุ่ม Life Science ของกลุ่ม ปตท.

รวมถึงการจัดตั้ง “วชิรแล็บ” ห้องปฏิบัติการกลาง เพื่อตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่พร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2021 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศไทยให้เป็น Medical Hub ของอาเซียน 

การสร้างธุรกิจใหม่ (Step Out Business) ได้แก่ (1) การบ่มเพาะนวัตกรรมจากภายใน (Inside-out Innovation) หรือการทำ Corporate Startup เช่น การสร้างนวัตกรรมทางการเกษตร ซิงค์ออกไซด์นาโน (ZnO NANO) ที่พัฒนาต่อยอดมาจากซิงค์ออกไซด์ (ZnO) ที่ทำให้มีขนาดเล็กระดับอนุภาคนาโน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของพืชได้ดียิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรและปลอดภัยต่อทั้งเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

(2) การแสวงหานวัตกรรม จากภายนอก (Outside-in Innovation) ผ่านการลงทุนร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) และการลงทุนในธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อแสวงหา Start up หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่ โดยการ M&A ที่นอกจากจะได้รับผลตอบแทนทางการเงินแล้ว บริษัทฯ ยังได้องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจ New S-Curve อีกด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img