วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกEXCLUSIVEตรึงราคาน้ำมันดีเซลใครได้ประโยชน์ ลิตรละ 25 บาทเป็นไปได้จริงหรือ…?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ตรึงราคาน้ำมันดีเซลใครได้ประโยชน์ ลิตรละ 25 บาทเป็นไปได้จริงหรือ…?

ก่อนหน้านั้น กลุ่มสหพันธ์รถขนส่งแห่งประเทศไทย พยายามจะเรียกร้องให้รัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานปรับลดและตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้เหลือลิตรละ 25 บาทเป็นเวลา 1 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในวันที่ 8 ก.พ. 2565 กลุ่มสหพันธ์รถขนส่งแห่งประเทศไทย และรถแท็กซี่ เดินทางปิดล้อมกระทรวงพลังงาน ยื่นข้อเรียกร้องและกดดันให้กระทรวงพลังงานลดราคาน้ำมันดีเซลอีกครั้ง รวมทั้งขอให้ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ

ส่วนกลุ่มรถแท็กซี่ อยากจะให้ปรับราคาก๊าซฯ NGV เหลือราคา 10.50 บาทต่อกิโลกรัมประมาณ 3-6 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลาย จากปัจจุบันจำหน่ายอยู่ที่ราคา 15.60 บาทต่อกิโลกรัม พร้อมกันนี้แกนนำยังได้พลัดกันขึ้นปราศรัยบนรถ เรียกร้องขอให้ “สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ลาออกจากตำแหน่ง 

สมบูรณ์ หน่อแก้ว

ขณะที่ทางกระทรวงพลังงาน โดย “สมบูรณ์ หน่อแก้ว” รองปลัดกระทรวงพลังงาน ได้รับหนังสือจาก “อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง” ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ที่ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานลดราคาน้ำมันดีเซลให้เหลือลิตรละ 25 บาทเป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากที่ผ่านมาได้รับความเดือดร้อนจากราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการขนส่ง โดยทางสหพันธ์ฯขอให้ลดการเก็บภาษีสรรพสามิต ลดค่าการตลาด และหยุดผสมไบโอดีเซลในน้ำม้นดีเซลชั่วคราวเนื่องจากราคาไบโอดีเซลมีราคาสูง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซลมีราคาสูงตามไปด้วย 

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานชี้แจงว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดจากเศรษฐกิจในหลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด ทำให้ในหลายๆ ประเทศ มีการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจาก supply มีไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เกิดความตึงเครียดทางการเมืองในหลายพื้นที่ในโลกที่หนุนให้ราคาน้ำมันขยับขึ้นอีก รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลง ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นกว่าในอดีตที่ผ่านมา และอีกสาเหตุสำคัญคือ ประเทศไทยเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 80-90% ของความต้องการ ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในไทยจึงขึ้นลงสอดคลัองกับราคาตลาดโลก

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ประเทศไทยเจอหลายสถานการณ์เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน จึงทำให้การแก้ไขสถานการณ์เป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ก็ได้ดำเนินหลายมาตรการในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งลดค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว กระทรวงพลังงานก็ได้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร มีการขอความร่วมมือผู้ค้าน้ำมันให้ลดค่าการตลาด มีการปรับลดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบัน

นอกจากนี้กระทรวงพลังงานยังได้มีการปรับสัดส่วนผสมไบโอดีเซลในน้ำมัน B7 B10 และ B20 ให้เหลือขั้นต่ำร้อยละ 5 โดยปริมาตร หรือเหลือน้ำมันดีเซลเกรดเดียวคือ B5 และก็ยังได้เตรียมมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการปรับสัดส่วนผสมไบโอดีเซลให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ดังนั้น ขอให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่กระทรวงพลังงานก็ขอยืนยันว่าจะดำเนินมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และจะยังคงเตรียมหามาตรการอื่นๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด

“ก.พลังงานตรึ่งราคาน้ำมันดีเซลกว่า 10 ปีใครได้ประโยชน์”

แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้มีการกำหนดเพดานราคาน้ำมันดีเซลไว้ ที่ 30 บาทต่อลิตรมานานเกินกว่า 10 ปีแล้ว อาจจะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หรือจำนวนผู้ใช้น้ำมันดีเซลที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือจริงๆ นั้น ควรจะมีมากน้อยแค่ไหน โดยในปัจจุบันตัวเลขการใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 61 ล้านลิตรต่อวัน

ขณะที่ กลุ่มเบนซินเฉลี่ยอยู่ที่ 28 ล้านลิตรต่อวัน แต่กลุ่มรถที่ใช้น้ำมันดีเซลที่ได้ประโยชน์จากการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่เพียงเป็นกลุ่มรถบรรทุกขนส่งสินค้าอย่างเดียว ซึ่งนั้นหมายถึงรถกระบะ รถยนต์ส่วนบุคคลบางยี่ห้อที่เติมน้ำมันดีเซลไม่ควรที่จะได้รับประโยชน์ตรงนี้ ดังนั้นกระทรวงพลังงานควรจะออกมาตรการใหม่ โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้เฉพาะกลุ่มรถบรรทุกขนส่งสินค้า หรือกลุ่มการเกษตรอย่างเดียว  

สำหรับอัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันที่นำไปอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลนั้น ก็เป็นการเก็บภาษีสรรพสามิตจากกลุ่มผู้ใช้มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ส่วนบุคคล ที่ใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินไปอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เพื่อตรึงราคาไว้ไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท และยังมีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้น หากราคาน้ำมันตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้นและรัฐโดยกระทรวงพลังงานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตรึงราคาน้ำมันดีเซล หรือปรับอัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเสียใหม่ ให้เป็นธรรมกับกลุ่มคนใช้น้ำมันเบนซินมากกว่านี้ 

อย่างไรก็ตาม การตรึงราคาน้ำมันดีเซลในปัจจุบันก็มีอยู่เพียง 2 บริษัทที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลไม่เกินลิตรละ 30 บาท คือ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ผู้ให้บริการสถานีบริการน้ำมันบางจาก ส่วนแบรนด์อื่นราคาเกินลิตร 30 บาทไปแล้ว

ทั้งนี้ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2565 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ติดลบกว่า 1.4 หมื่นล้านบาท โดยอุดหนุน LPG ช่วง 2 ปีไปแล้ว 24,669 ล้านบาท และปัจจุบัน กองทุนฯ มีเงินไหลออกราวเดือนละ 7,000 ล้านบาท จากการตรึงราคา LPG และน้ำมันดีเซล ซึ่งหากกลุ่มสหพันธ์รถขนส่งแห่งประเทศไทยเรียกร้องให้ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกินลิตรละ 25 บาทก็จะส่งผลให้กระทรวงพลังต้องใช้เงินกองทุนน้ำมันเพิ่มเป็นเดือนละ 17,000 ล้านบาท ซึ่งกองทุนมีเงินไม่เพียง แม้กองทุนน้ำมันจะมีกรอบวงเงินกู้รวมอยู่ที่ 30,000 ล้านบาทก็ตาม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img