วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกHighlight“ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม” ไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจและรักษาได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม” ไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจและรักษาได้

แพทย์ผิวหนังชี้ “ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม” ไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรงและวิธีการรักษา แต่เพื่อนและสังคมให้กำลังใจกันและกัน ทำให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น

พญ.ชินมนัส เลขวัต ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการพัฒนางานวิจัย สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากที่มีข่าวเรื่องภรรยานักแสดงผู้มีชื่อเสียงในฮอลลีวูดเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมแล้วมีการพูดถึงโดยพิธีกรในงานออสการ์ ก่อให้เกิดความไม่พอใจในบุคคลที่เกี่ยวข้อง โรคนี้อาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอายหรือเป็นปมด้อยแต่อันที่จริงแล้วโรคนี้เป็นโรคที่รักษาได้ ไม่ควรเป็นโรคที่น่ารังเกียจต่อสังคมเพราะไม่ได้เป็นโรคติดต่อหรือโรคอันตรายแต่อย่างใด

พญ.ชินมนัส อธิบายว่า ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกช่วงอายุ ผู้ป่วยมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆที่ศีรษะ โดยอาจจะมีขนร่วงที่บริเวณอื่นร่วมด้วย เช่น คิ้ว หนวด จอนหรือขนตามร่างกาย ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการผมร่วงทั่วศีรษะหรือขนตามร่างกายร่วงจนหมดตามมา 

ผู้ป่วยมักมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการมากอาจมีผมร่วงเป็นบริเวณกว้างทั้งศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความอับอาย ไม่กล้าเข้าสังคม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

โรคนี้พบได้ประมาณ 0.2% ของประชากรทั้งหมดและพบได้ทุกกลุ่มอายุและเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โรคผมร่วงเป็นหย่อมนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางการศึกษาเชื่อว่าเกิดจากการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต้านตนเอง (autoimmune disease) ร่วมกับมีการเสียการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกัน (immune privilege) และอาจมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เกี่ยวข้อง โดยร่างกายอาจถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยบางอย่าง เช่น ความเครียดทั้งจากภาวะการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ ทำให้มีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและสารสื่อประสาทที่บริเวณต่อมผม จึงทำให้การสร้างผมผิดปกติและวงจรชีวิตของผมเปลี่ยนจากระยะเจริญเติบโตเป็นระยะหลุดร่วงเร็วขึ้น

โรคผมร่วงเป็นหย่อมมีความสัมพันธ์กับโรคทางผิวหนังและโรคอื่น จากการศึกษาพบว่าโรคผมร่วงเป็นหย่อมมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ (atopic diseases), โรคอ้วนลงพุง (metabolic syndrome), การติดเชื้อ Helicobacter pylori, โรคเอสแอลอี (SLE; systemic lupus erythematosus), โรคซีดจากการขาดธาตุเหล็ก, โรคไทรอยด์, โรคทางจิต, โรคขาดวิตามินดี, โรคที่มีความผิดปกติทางหู และโรคที่มีความผิดปกติทางตา

ส่วนการรักษา พญ.ชินมนัส อธิบายว่า การดูแลรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมควรจะรักษาตามมาตรฐานของการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม โดยการรักษาขึ้นกับขนาดพื้นที่ของผมร่วงที่ศีรษะ กรณีในผู้ป่วยที่มีอาการน้อย มีผมร่วงเป็นหย่อมเพียงเล็กน้อย อาการผมร่วงอาจหายได้เองหรือไปรับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้วยการทายาสเตียรอยด์หรือฉีดยาสเตียรอยด์ที่ศีรษะร่วมกับการทายาไมน็อกซิดิล (Topical minoxidil) 2-5% วันละ 2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นผมให้ขึ้นใหม่

กรณีในผู้ป่วยที่มีอาการมาก  มีผมร่วงทั่วศีรษะหรือมีขนตามร่างกายร่วงด้วย ควรจะพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยยาทาไดฟีนิลไซโคลโพรพีโนนหรือยาทาดีพีซีพีหรือยาอื่นตามที่แพทย์เฉพาะทางพิจารณา

การตอบสนองต่อการรักษาขึ้นอยู่กับยาที่ใช้รักษา, ความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็นโรคซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไม่ควรหมดกำลังใจในการดำรงชีวิตและการเข้าสังคมเนื่องจากโรคไม่ได้มีผลต่อสุขภาพร่างกาย ไม่ใช่โรคที่อันตรายร้ายแรงและมีหนทางในการรักษา เพื่อนหรือคนในครอบครัวควรให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย บุคคลภายนอกควรเห็นใจและให้กำลังใจกันและกัน ทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น

ข้อมูล ..FB: ครบเครื่องเรื่องผิวหนัง โดย สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img